วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนครั้งที่ 7
Tuesday at 30 September 2014

วันนี้เริ่มการเรียนการสอนโดยการประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์
ผลงานชิ้นที่ 1 คือการประดิษฐ์ลูกยางจากกระดาษเหลือใช้ 



    โดยการประดิษฐ์ลูกยางจากกระดาษนี้จะเห็นถึงความเเตกต่างจากรูปภาพด้านบนได้ว่าลักษณะการตัดไม่เท่ากัน เเละเมื่อโยนลงมาจากที่สูงก็จะมีลักษณะการตกลงมาที่เเตกต่าง โดยมีปัจจัยดังนี้
1.ลักษณะการโยน
2.การออกเเรงโยนที่ไม่เท่ากัน
3.สภาพอากาศขณะโยน
4.ลักษณะของการตัดปีกกระดาษที่ไม่เท่ากัน 
เเละเมื่อพิจารณาเเรงที่กระทำกับตัวมัน จะมีเเรงโน้มถ่วงของโลกเเละเเรงต้านอากาศเเละด้วยรูปร่างของปีกกระดาษที่ไม่สมมาตร โดยถูกออกเเบบให้เเรงต้านกลายเป็นเเรงเข้าสู่ศูนย์กลาง ส่วนเเรงโน้มถ่วงทำให้มันตกลงมาในเเนวดิ่ง ตามลักษณะของการโยน

โดยกิจกรรมนี้นะค่ะถ้าเป็นเด็กๆได้ออกมาลองเล่นเขาจะไม่ถามว่าเล่นอย่างไร เขาจะเกิดการเรียนรุ้เเละทดลองเล่นด้วยตนเอง ซึ่งต่างจากนักศึกษาเพราะนักศึกษามีกรอบความคิดเป็นของตัวเองเเล้วค่ะ
ผลงานชิ้นที่ 2 สื่อวิทย์สร้างสรรค์จากเเกนกระดาษทิชชู่

 

     สิ่งประดิษฐ์นี้นะค่ะสามารถนำเศษวัสดุเหลือใช้มาใช้สร้างสรรค์เป็นสื่อวิทยาศาสตร์ให้เกิดคุณค่าเเก่เด็กโดยมีขั้นตอนการทำง่ายๆไม่ซับซ้อน เด็กๆสามารถทำได้ด้วยตนเอง

สิ่งที่ต้องกลับมาศึกษาค้นคว้าเพิ่ม

ประเมินตนเอง
-ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมให้อย่างตั้งใจ
-ตอบคำถามที่อาจารย์ถามตามความเข้าใจของตนเอง

ประเมินเพื่อนๆ
-เพื่อนสนุกสนานจากกิจกรรมการประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์อย่างสนุกสนาน
-มีส่วนร่วมกับกิจกรรมอย่างตั้งใจ

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์เตรียมสื่อ อุปกรณ์ ให้นักศึกษาประดิษฐ์อย่างมีความพร้อม
-อาจารย์ตั้งใจสอน พร้อมสรุปกิจกรรมอย้่างเข้าใจ





วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนครั้งที่ 6
วันอังคารที่ 23 กันยายน 2557

   Constructivism มีความสอดคล้องกับปฐมวัยอย่างไร 
*การจัดการเรียนรู้ที่ครูปฐมวัยนั้นมีบทบาทเป็นผู้ให้ข้อมูลเเก่เด็ก เเละยิ่งครูให้ข้อมูลเเก่เด็กมากเท่าไรเด็กก็ยิ่งรับข้อมูลได้มากเท่านั้น
วันนี้อาจารย์มีสื่อมาให้นักศึกษาดูเเละทดลองปฏิบัติหลายอย่างเลย เช่น กล้องพาราไดร์สโคป  สื่อวิทยาศาสตร์บัตรรูปภาพ เป็นต้น


กล้องนี้เมื่อส่องจะเกิดการหักเหเนื่องจากมีรูด้านข้าง


           ตัวอย่างกล้องพาราไดร์สโคป เเละกล้องเปริสโคป


บัตรรูปภาพสวยไหมค่ะเมื่อใช้มือหมุนไม้ภาพทั้งสองด้านจะเหมือนเคลื่อนไหวรวมกันเป็นภาพเดียวค่ะ


อาจารย์ตั้งคำถาม  2 คำถาม
  question ?  ใครเปรียบเด็กเหมือนผ้าข้าว

  answer     ฌอง ฌาค รุสโซ ( Jean Jacques Rouseeau )
  question.  ? ใครคือบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ 
  answer      พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัว



                         Mildmap สรุปความรู้




ประเมินตนเอง
-วันนี้ได้เรียนรู้เรื่องเเสงพอสมควรเเละได้ทดลองกล้องที่อาจารย์นำมาให้เรียนรู้เเละได้จดบันทึกสิ่งที่ได้จากการเรียน เเละการเตรียมเเผนการสอนโดยการใช้MildMap ประกอบในการสอนในเเต่ล่ะเรื่อง

ประเมินเพื่อนๆ
-เพื่อนเเต่ล่ะกลุ่มวาดรูปเเละสร้างMildmap มาอย่างสวยงามทุกกลุ่มเลย

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์ให้ข้อเสนอเเนะเเละคำติชมในการสร้างMlidMap ของเเต่ละกลุ่ม เเละอธิบายความรู้เรื่องเเสงในการนำไปใช้สอนเด็กเพื่อให้เด้กได้คิดเเละหาเหตุผลด้วยตนเอง






วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนครั้งที่ 5 
วันอังคารที่ 16 กันยายน 2557

    เริ่มต้นบทเรียนอาจารย์ให้นักศึกษาฟังเพลงเนื้อร้องเเละทำนองเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก เเต่นักศึกษาไม่ฟัง พูดคุยส่งเสียงดังไม่เกรงใจอาจารย์ อีกทั้งปัญหาเรื่องระบบ electronics ไม่สมบูรณ์แบบเกิดความขัดข้องในระบบเสียง เมื่อเพลงจบอาจารย์ได้กล่าวถึงเรื่องกาลเทศะ Propriety พร้อมยกตัวอย่างทฤษฎีของฟรอยด์ ที่เป้นทฤษฎีด้านจิตวิเคราะห์กลา่าวคือพฤติกรรมที่เป้นทฤษฎีที่เป็นไปตามหลักและเหตุผลในความเป้นจริงตามหลักการของอีโก้ Ego จากนั้นอาจารย์ถามนักศึกษาขนาดที่นักศึกษาเงียบแล้วว่าขณะที่อาจารย์ให้ฟังเพลงนักศึกษาแสดงพฤติกรรมที่ไม่สมควรอะไรบ้างออกมาทุกคนก็ตอบมาเป็นเสียงเดียวกันว่าเสียงรบกวนสมาธิอาจารย์ผู้สอน เสียงดัง สร้างความวุ่นวายให้เพื่อนๆและอาจารย์ผู้สอน อาจารย์จึงกล่าวสรุปว่าทุกคนควรมีประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเป้นผู้ฟังที่ดี ผู้พูดที่ดี

จากนั้นเพือนๆก็ได้ออกมานำเสนอบทความตามเลขที่
 เรื่องที่ 1 สอนลูกเรื่องปรากฎการณ์ธรรมชาติสำคัญอย่างไร
รายละเอียดของบทความพูดถึงเรื่องการให้ความสำคัญต่อลูกในเรื่องของปรากฎการณ์ธรรมชาติต่างๆที่เด็กสนใจและอยากจะเรียนรู้โดยพ่อแม่ควรให้ความสำคัญและให้ความรู้ความเข้าใจอธิบายเรื่องราวทางธรรมชาติในแบบง่ายๆที่เด็กพอจะเข้าใจ

* หมายเหตุ  ในคาบเรียนนี้เพื่อนๆๆนำเสนอบทความแค่ 1 เรื่อง เนื่องจากอาจารย์ติดธุระสำคัญจึงให้เพื่อนที่้หลือนำเสนอในคาบต่อไป และอาจารย์ได้หมอบหมายงานให้นักศึกษา 2 งาน คือ
งานเดี่ยว ให้ศึกษา VDO เรื่องความลับของแสง พร้อมสรุปสาระสำคัญที่ได้จาก VDO ลง Blogger 
งานกลุ่ม   ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 - 6 คน สร้าง Mild Mapping โดยแต่ละกลุ่มให้กำหนดกลุ่มล่ะ 1เรื่อง โดยมีเนื่้อหาที่ละเอียด โดยกลุ่มดิฉันนำเสนอเรื่อง Frog 

                                                                VDOความลับของแสง


                                                                 
                                             สรุปองค์ความรู้ เรื่องความลับของเเสง จาก VDO


ประเมินตนเอง
-คุยกับเพื่อนข้างๆ จนไม่รู้เรื่องสิ่งที่อาจารย์เปิดให้ฟัง ทำให้ตัวเองขาดการเป็นผู้เรียนที่ดีเเละผู้ฟังที่ดีในชั้นเรียน

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆในห้องเเข่งกันคุยเสียงดัง ไม่ฟังอาจารย์สอน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์มีความตั้งใจในการสอนเเต่นักศึกษาไม่สนใจที่จะรับความรู้
-อาจารย์ปล่อยเร็วเนื่องจากติดธุระสำคัญเเต่ก็ให้งานไว้ 







วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปบทความ เรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ที่มา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี  ไสยวรรณ
     การให้เด็กได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์นั้นถือว่าให้เด็กได้เข้าใจตัวเองเเละโลกรอบตัว เด็กมีธรรมชาติที่เป็นความอยากรู้อยากเห็น มักจะชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรเพื่อเเสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเเละเริ่มมีความเข้าใจธรรมชาติมากขึ้น เด้กสามารถสังเกตเเละสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องดิน หิน อากาศเเละท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานจากเเม่เหล็ก เเสงเเละเสียง นอกจากนี้เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำเเละความร้อน สิ่งเหล่านี้เองทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มมีการทำงานทางวิทยาศาสตร์ สามารถเเก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้อย่างมากมาย เเละกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ล้วนส่งเสริมการสร้างความมั่นใจลดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ พัฒนาการทางสติปัญญาให้เเก่เด็ก เช่น ทักษะการสังเกต การจำเเนก ประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะเน การสื่อสาร เเละยังพัฒนาอารมณ์ให้เด็กเกิดเจตคติในทางบวก วิทยาศาสตร์นั้นมีขอบข่ายค่อนข้างกว้างขวาง เเต่โดยสรุปที่ควรจัดให้เด็กได้เรียนรู้ก็คือ การศึกษาธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเด็กโดยมีขั้นตอนการศึกษาค้นคว้า ทำความเข้าใจเเละอธิบายธรรมชาติที่อยู่รอบตัวได้ เช่น พฤติกรรมการเปลี่ยนเเปลง ปรากฏการณ์ต่างๆ นำไปสู่การสื่อสารเเละการเเสดงออกทางปัญญาในการเเสดงความคิดเห็นผ่านภาษาโดยการพูดเเละการเขียนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จะส่งสนับสนุนความอยากรู้ ความสนใจของเด็ก เเละในที่สุดก็จะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกประสบผลสำเร็จ
                                                                                                             

วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมครั้งที่ 4
 วันอังคารที่  9 กันยายน 2557
* ่ อาจารย์ตั้งคำถาม  2 คำถาม
  question ?  ใครเปรียบเด็กเหมือนผ้าข้าว
  answer     ฌอง ฌาค รุสโซ ( Jean Jacques Rouseeau )
  question.  ? ใครคือบิดาแห่งวิทยาศาสตร์
  answer      พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัว
ความหมายของวิทยาศาสตร์ ( Science )
วิทยาศาสตร์หมายถึง การศึกษาสืบค้นเเละจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติโดยอาศัยกระบวนการเเสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วยวิธีการทักษะกระบวนการเเละเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบเเบบเเผน มีขอบเขตโดยอาศัยการสังเกต การทดลองเพื่อค้นหาความจริงเเละทำให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
เเนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
1,การเปลี่ยนเเปลง
2.ความเเตกต่าง
3.การปรับตัว
4.การพึ่งพาอาศัยกัน
5.ความสมดุล
เจตคติทางวิทยาศาสตร์
1.ความอยากรู้อยากเห็น
2.ความเพียรพยายาม
3.ความซื่อสัตย์
4.ความมีระเบียบเเละรอบคอบ
5.ความใจกว้าง
 
 บทความจากเพื่อนๆ 5 เรื่อง
1.จุดประกายของเล่นวิทยาศาสตร์
2.ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์
3. วิทย์ - คณิต สำหรับเด้กปฐมวัยสำคัญอย่างไรต่ออนาคตของชาติ
4.เมื่อลูกน้อยเรียนรู้ คณิต - วิทย์ จากเสียงดนตรี บูรณาการ กิจกรรมเพื่อสร้างนักวิทยาศาสตร์น้อย
5.การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

การเรียนรุ้   Learning
1.สิ่งที่ครูถามสนทนาโต้ตอบเพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนรุ้
2.สิงที่เรียนรู้จากนอกห้องเรียนและในห้องเรียน
3.สิงที่ได้จากเพื่อนๆในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น


Add
ทักษะทางวิทยาศาสตร์มีอะไรบ้าง



ประเมินตนเอง
 - เข้าเรียนตรงต่อเวลา
 - ตั้งใจการนำเสนอบทความของเพื่อนๆ

ประเมินเพื่อน
- เพื่อนที่นำเสนอบทความมีการเตรียมความพร้อมมาพอสมควร

ประอาจารย์ผุ้สอน
 - อาจารย์มีความตั้งใจในการสอนและให้ความรู้ในเรื่องที่เรียนใช้เทคนิคการสอนโดยการสนทนาถามตอบให้นักศึกษามีส่วนร่วม

วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนครั้งที่ 3
วันอังคารที่ 2 กันยายน  2557
กิจกรรมวันนี้
*อาจารย์เปิดบล็อกให้ดู และให้คำแนะนำในการทำบล็อกที่ต้องรู้จักใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์

* ให้นักศึกษามานำเสนอบทความที่ได้ไปศึกษามา มาพูดให้เพื่อนฟัง
เรื่องวิทยาศาสตร์และทดลองของเด็ก
เรื่องภาระกิจตามหาใบไม้
เรื่องการแยกเมล็ดพืช
เรื่องเจ้าลูกโป่ง


*อาจารย์ได้อธิบาย คุณลักษณะตามวัยของเด็ก 3-5 ปี ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษา
ปฐมวัย พ.ศ. 2546



เด็กอายุ 3 ปี
เด็กอายุ 4 ปี
เด็กอายุ 5  ปี
พัฒนาการด้านสติปัญญา
-สำรวจสิ่งต่างๆที่เหมือนและแตกต่าง
-บอกชื่อของตนเองได้
-ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
-สนทนาโต้ตอบ เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้นๆ
-สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
พัฒนาการด้านสติปัญญา
-จำแนกสิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้
-บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
-พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
-สนทนาโต้ตอบ เล่าเรื่องด้วยประโยคต่อเนื่อง
พัฒนาการด้านสติปัญญา
-บอกความแตกต่าง ของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่างจำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
-บอกชื่อ นามสกุล และ อายุ ของตนเองได้
-พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
-สนทนาโต้ตอบบอกเล่าเป็นเรื่องราวได้

 


       Mild Map

บทความของเพื่อนๆ
1.วิทยาศาสตนร์และการทดลอง ผู้เขียน ดร.วิทยา
2. กระบวนการสืบเสาะวิทยาศาสตร์ที่บูรณาการคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
3. เรื่องแม่เล็กของเด็กชายชอบจากโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย
4. การแยกประเภคของเมล็ด

ประเมินตนเอง
- เข้าเรียนตรงเวลา
- แต่งกายเรียบร้อย
- ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยาย และจดบันทึกสิ่งที่ได้รับ อย่างละเอียด

ประเมินเพื่อน
- เพื่อนนำเสนอบทความแต่ละเรื่องมีความน่าสนใจ และเป็นความรู้
- เพื่อนๆส่วนใหญาเข้าเรียนตรงเวลา

ประเมินอาจารย์
- อาจารย์อธิบายลายละเอียดบล็อกให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจอีกครั้งอย่างละเอียด
- อาจารย์มีความตั้งใจในการสอน





วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนครั้งที่ 2
วันอังคารที่ 26 สิงหาคม 2557
   วันนี้เป็นการเข้าสู่เนื้อหาบทเรียนชั่วโมงเเรก อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ตอบคำถามเเละร่วมเเสดงความคิดเห็นจากคำถามของอาจารย์ เเละร่วมกันสรุปเนื้อหาการเรียนจาก Powerpoint ที่อาจารย์ได้นำเสนอ
คำถามจากอาจารย์ผู้สอน
ปฐมวัยกับวิทยาศาสตร์
1.ทำไมถึงเรียกปฐมวัย เพราะเราเรียนสาขาปฐมวัย เพราะปฐมวัยเกี่ยวข้องกับรายวิชา เพราะเราต้องเรียนรุ้เด็กปฐมวัย
2. เครื่องมือในการเรียนรุ้วิทยาศาสตร์
 -คณิตศาสตร์ ( ภาษา - คณิต )
3. เด็กปฐมวัยกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
 -วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กจริงหรือไม่จริงเพราะเด็กชอบอยากรุ้อยากเห็นสิ่งที่บ่งบอกว่าเด็กสามารถทำได้คือพัฒนาการ
 -ถ้าเด็กๆเรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่อนุบาลจะยากเกินไปไหม
ไม่อยากเพราะสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก เช่น อยากรู้ อยากลอง ของเด็ก
-ควรให้เด้กอนุบาลเรี์ยนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร
ทดลอง
4. วิทยาศาสตร์
ความหมายของมนุษย์ ที่จะเรียนรู้และเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวเอง
5. การเรียนรู้
คือ การเปลี่ยงแปลงพฤติกรรม
6. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
คือ การเอาตัวรอดบนโลกนี้
7.ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด้กปฐมวัยมีความสำคัญโดยที่เป็นการส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจอยากรู้ อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว การที่เด้กได้รู้จักสิ่งต่างๆ ทำให้เด็กเข้าใจในสิ่งที่สงสัย เข้าใจโลกที่อยู่ ซึ่งสงผลให้พัฒนาการความคิด รุ้จักหาคำตอบแบบวิทยาศาสตร์ เด็กมีประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ จะช่วยส่งเสริมและพัมนาการเด็กในด้านต่างๆ ดังนี้
 1. สร้างความเชื่อมั่นให้กับตัวเอง
 2. ได้ประสบการณ์ที่จำเป็นสำหรับชีวิต
 3. มีทักษะในด้านกการสังเกต
 4. รู้จักแก้ปัญหาโดยมีผู้ใหญ่ช่วยเหลือ
 5. มีความรู้พื้นฐานจากการได้สืบค้น
 6. มีการพัฒนาด้านประสาทสัมผัสที่ 5 
ความหมายของการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด้กปฐมวัย ไม่แตกต่างจาก ความหมายของวิทยาศาสตร์ทั่วไป ซึ่งเน้นที่กระบวนการและผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ แต่เด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นๆ เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มเรียนรู้ดังนั้นจึงเป็นการกระทำโดยอาศัยพื้นฐาน เบื่องต้นทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เด็กเกิดความเรียนรุ้เกี่ยวกับความจริงต่างๆรอบตัวเอง

การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำทักษะกระบวนการคิดการตัดสินใจและการเรียนรู้จากเนื้อหาและรายละเอียดในวันนี้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไปปรับเปลี่ยนและประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนครั้งต่อไป

การประเมินตนเอง
แต่งกายถูกระเบียบ
เข้าเรียนตรงต่อเวลา
ตอบคำถามที่อาจารย์ถาม
ตั้งใจทำ My Mapping สรุปความรู้ที่ได้

การประเมินเพื่อน
เพื่อนเข้าเรียนตรงต่อเวลา
โัดยส่วนใหญ่เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์สอน และ จดบันทึกสิ่งต่างๆที่ได้รับ

การประเมินอาจารย์ผุ้สอน
อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลา
อะิบายการทำ My Mappingอย่างละเอียดและน่าสนใจให้กับนักศึกษา

ความรุ้เพิ่มเติม
การสร้าง My Mapping ให้น่าสนใจ และ น่าอ่าน


บันทึกกิจกรรมการเรียนครั้งที่ 1 
วันอังคารที่ 19 สิงหาคม 2556
   อาจารย์เเจกเเนวการสอนเเละอธิบายเนื้อหาของรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ข้อตกลงเเละกฎกติกาของห้อง
1.เเต่งกายเรียบร้อยเป็นไปในเเนวทางเดียวกัน
2.เข้าเรียนตรงต่อเวลา
3.มีมารยาทในการเรียน
4.พูดจาไพเราะ
5.มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่

ผลลัพธ์การเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม
1,มีความซื่อสัตย์ สุจริต เเละเสียสละ
2.มีวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเองเเละส่วนรวม
3.เคารพสิทธิเเละรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ด้านความรุ้ 
1.สามารถอธิบายหลักการ ความสำคัญ เเนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางวิทยาศาสตร์ได้
2.วิเคาระห์เเละเลือกจิตวิทยาการเรียนรู้ที่สนับสนุนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาสาสตร์สำหรับเดปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม
3.อธิบายสาระการเรียนรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
4.วิเคราะห์และเลือกรูปแบบการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
5.ออกแบบและเขียนแผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
6.วิเคราะห์ และเลือก สื่อ อุปกรณ์ ในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้      ตลอดจนการจัดสภาพแวดล้อม ( มุมประสบการณ์ ) ได้อย่างเหมาะสม
7.อธิบายบทบาทของครูและออกแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์
 ด้านทักษะทางปัญญา
1.คิดและวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ
2.ประยุกต์ความรู้เพื่อนำใช้ในการออกแบบและวางแผนจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างสร้างสรรค์
3.สรุปองค์ความรู้จากปัญหาและความต้องการนำไปพัฒนาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
 ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
1.ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ และแก้ไข้เมื่อพบปัญหา
2.แสดงบทบาทผู้นำและผู้ร่วมทีมทำงานได้อย่างเหมาะสม
3.รับผิดชอบในผลงานของตนเองและกลุ่ม
 ด้านทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1.มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นในปัจจุบันเพื่อการศึกษาค้นคว้า และเรียนรู้ประสบการณ์ในการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
2.สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน พร้อมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่อมานำเสนอได้อย่างเหมาะสม
3.สามารถใช้เทคโนโลยีสารานเทศเพื่อการสืบค้น การนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 ด้านการจัดการเรียนรุ้
1.;วางแผน ออกแบบ ปฏิบัติการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรุ้ เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล
2.เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง เช่น การศึกษากรณีตัวอย่างจากห้องเรียน การสักเกตการสอนแบบต่างๆการสังเกตพฤติกรรมผุ้เรียน การสัมภาษณ์หรือพุดคุยกับผู้มีประสบการณ์ การทำแผนการสอน การผลิตสื่อประกอบารสอนการทดลองสอนเเละการจัดเเหล่งประสบการณ์การเรียนรู้ให้เเก่เด็กปฐมวัย

การนำไปประยุกต์ใช้
นำประสบการณ์เเละข้อเสนอเเนะ ติชมจากอาจารย์ผู้สอนไปปรับใช้ในการเรียนรู้

ประเมินตนเอง
เเต่งกายเรียบร้อย
เข้าเรียนตรงเวลา

ประเมินเพื่อน
เพื่อนเเตงกายไม่เหมือนกัน
บางคนเข้าเรียนสาย

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา
ให้ข้อเสนอเเนะในการเรียนรายวิชานี้
ประสบการณ์เรียนรู้ที่ดีเเละการนำไปปรับใช้

ความรู้เพิ่มเติม
มคอ.มาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา