วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปบทความ เรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ที่มา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี  ไสยวรรณ
     การให้เด็กได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์นั้นถือว่าให้เด็กได้เข้าใจตัวเองเเละโลกรอบตัว เด็กมีธรรมชาติที่เป็นความอยากรู้อยากเห็น มักจะชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรเพื่อเเสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเเละเริ่มมีความเข้าใจธรรมชาติมากขึ้น เด้กสามารถสังเกตเเละสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องดิน หิน อากาศเเละท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานจากเเม่เหล็ก เเสงเเละเสียง นอกจากนี้เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำเเละความร้อน สิ่งเหล่านี้เองทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มมีการทำงานทางวิทยาศาสตร์ สามารถเเก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้อย่างมากมาย เเละกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ล้วนส่งเสริมการสร้างความมั่นใจลดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ พัฒนาการทางสติปัญญาให้เเก่เด็ก เช่น ทักษะการสังเกต การจำเเนก ประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะเน การสื่อสาร เเละยังพัฒนาอารมณ์ให้เด็กเกิดเจตคติในทางบวก วิทยาศาสตร์นั้นมีขอบข่ายค่อนข้างกว้างขวาง เเต่โดยสรุปที่ควรจัดให้เด็กได้เรียนรู้ก็คือ การศึกษาธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเด็กโดยมีขั้นตอนการศึกษาค้นคว้า ทำความเข้าใจเเละอธิบายธรรมชาติที่อยู่รอบตัวได้ เช่น พฤติกรรมการเปลี่ยนเเปลง ปรากฏการณ์ต่างๆ นำไปสู่การสื่อสารเเละการเเสดงออกทางปัญญาในการเเสดงความคิดเห็นผ่านภาษาโดยการพูดเเละการเขียนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จะส่งสนับสนุนความอยากรู้ ความสนใจของเด็ก เเละในที่สุดก็จะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกประสบผลสำเร็จ

บทโทรทัศน์ครู เรื่อง จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย 
เด็กปฐมวัยมีความอยากรู้อยากเห็น อยากที่จะลอง เเละพยายามที่จะโชว์เพื่อให้เพื่อนๆยอมรับในตัวเขา หลักการของอาจารย์คือเน้นการทดลอง เเละให้เด้กจดจำ โดยอาจารย์สอนเรื่อง เสียง ครูเปิดโอกาสให้เด็กๆเเสดงความสามารถทางเสียงเป็นการนำเข้าสู่บทเรียนเเละการใช้คำถามเพื่อให้เด็กเกิดกระบวนการคิดเเละสังเกต เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งเเวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด้กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล เเสวงหาความรุ้ สามารถเเก้ไขปัญหาได้ ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็ก ได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากการเรียนคือการพัฒนาเครื่องดนครี

บันทึกกิจกรรมการเรียนครั้งที่ 13
วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน 2557 (ชดเชย วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน 2557)

กิจกกรมวันนี้เป็นการประกอบอาหารอีกเเล้วค่ะ สนุกกันอีกเเล้ว วันนี้ขอเสนอเมนู "วาฟเฟิลเเสนอร่อย"
Cooking
การเตรียมอุปกรณ์
1.ที่ตีเเป้ง whisk
2.ไข่ไก่ egg
3.เนย butter
4.เเป้ง
5.นมจืด milk
6.น้ำร้อน hot water
7.ถ้วยขนาดใหญ่เเละเล็ก cup
8.เครื่องอบวาฟเฟิล
ขั้นตอนการทำ
1.นำไข่ไก่ น้ำเเละเเป้งวาฟเฟิลใส่ภาชนะผสมกันเเล้วตีผสมให้เข้ากัน
Blend egg water and waffle mix flour until homogeneous
2.หยอดเเป้งลงบนพิมพ์วาฟเฟิลที่ทาเนย เเละร้อนดีเเล้วจนเต็มพิมพ์
Heat the waffle iron and grease with butter then pour batter on the iron and close it
3.อบทิ้งไว้ประมาณ 3-4 นาที เพียงเเค่นี้ก็จะได้วาฟเฟิลเเล้ว
Bake for 3-4 minutes then lift the waffle out of iron






ดูจากภาพเเล้วสนุกสนานกันเลยทีเดียว 

**การสะท้อนความคิดหลังการทำกิจกรรมเเละการนำไปใช้ในเชิงวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับปฐมวัย
กิจกรรมการทำอาหาร หรือ cooking สามารถนำไปใช้สอนเด็กเพื่อให้เด็กๆเรียนรู้ที่จะใช้ทักษะทางด้านภาษาในการสื่อสาร คณิตศาสตร์ในการทำอาหารในการวัด คำนวน รวมทั้งได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ควบคู่ไปด้วย เช่น การเปลี่ยนเเปลงของสิ่งต่างๆ เมื่อถูกความร้อน ความเย็น เป็นต้น ในการทำอาหารถ้าเด็กได้ลงมือทำ เด็กก็จะได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ คือ หู-ฟัง ตา-ดู ปาก-ชิมลิ้มรส จมูก-ได้รับกลิ่น
มือ-จับต้องสัมผัส รวมไปถึงการต่อยอดทักษะทั้ง 4 ด้าน อย่างเหมาะสม 

ประเมินตนเอง
จากกิจกรรมวันนี้สอนให้ทุกคนได้ลงมือปฏิบัติเเละฝึกคิดสิ่งที่จะได้รับเเละการนำไปสอนเด็กปฐมวัยให้ถูกต้องเเละเกิดกระบวนการเรียนรู้ให้มากที่สุด เเละการวางเเผนก่อนลงมือปฏิบัติกิจกรรมทุกครั้ง

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทุกคนมีความคิดเห็นว่าควรจะมีการจัดกิจกรรมการทำอาหารบ่อยๆเพราะหลายคนได้มีส่วนร่วมกันเเละมีความสนุกสนานระหว่างการทำกิจกรรมเกิดการเรียนรู้หลายอย่างเเละไม่น่าเบื่อ เป็นประสบการณ์ที่ดีอีกด้วย 
ประเมินอาจารย์ผู้สอน 
อาจารย์ชี้เเจงเเละอธิบายสิ่งที่ควรนำไปใช้กับเด็กในการจัดกิจกรรมนี้ เเละข้อควรระวัง เเละสิ่งที่นักศึกษาจะต้องปรับปรุงเเก้ไขในการจัดกิจกรรมเเบบนี้ 












วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนครั้งที่ 12 
วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน 2557 

   ทุกคนควรจะสรุปบทความ งานวิจัย เเละวิดีโอโทรทัศน์ครูใน Blogger ของตนเองทุกคน โดยสรุปสาระสำคัญเเละสิ่งที่เราเข้าใจ เรื่องเเผนการสอนเป็นสิ่งที่อาจารย์เป็นห่วงมากที่สุด เพราะอยากให้นักศึกษามีความเข้าใจเเละเเม่นในเรื่องการเขียนเเผนการสอน

กลุ่มที่เหลือนำเสนอเเผนการสอน 
หน่วย สัปปะรด pineapple 



-ข้อเสนอเเนะ ควรปรุงสุกผลไม้ก่อนเช่น ควรต้มน้ำเชื่อมมา เเละคั่นเนื้อสัปปะรดมาให้สะอาดเพื่อความปลอดภัยในการกินของเด็ก

หน่วยทุเรียน durian


-ข้อเสนอเเนะ ควรใช้ตารางในการสรุปความคิดรวบยอดของเด็ก

หน่วยส้ม orange 

-ข้อเสนอเเนะ ควรเขียนเเผนให้มีความสมบูรณ์มากกว่านี้ เเต่ขอชมเชยการเตรียมสื่อการสอนที่น่าสนใจ

หน่วยมด ant
-ข้อเสนอเเนะ วางเเผนการสอนเเละขั้นสรุปให้ชัดเจน

หน่วยน้ำ water
-ข้อเสนอเเนะ  นำเสนอได้ดี น่าสนใจ พอสมควร


ทำอาหาร cooking

การสอนเด็กวิธีการประกอบอาหาร จะต้องจัดกลุ่มให้เด็กเเล้วเเบ่งหน้าที่กันปฏิบัติ
                                             ฐานที่ 1 ตัดกระดาษรองถ้วย (ฝึกทักษะศิลปะ)

                                                                       ฐานที่ 2 หั่นผัก

                             
                                                                  ฐานที่ 3 ตอกไข่ ตีไข่


                                                                     ฐานที่ 4 ปรุงรส




                                                               ฐานที่ 5 ประกอบอาหาร





                                                                เสร็จเเล้วจ้าา ไข่หรรษา



เเล้วจากนั้นให้เด็กๆเปลี่ยนฐานกัน เพื่อที่จะสลับกันทำทุกหน้าที่ ครูผู้สอนจะต้องมีทักษะการใช้คำถามขณะทำกิจกรรมเพื่อให้เด็กมีการสังเกตเเละเกิดทักษะการเรียนรู้หาคำตอบ
เเละสุดท้ายอาหารที่ได้ก็ฝึกให้เด้กนำไปเเบ่งปันเพื่อนห้องข้างๆ สร้างคุณลักษณะการมีน้ำใจต่อกัน

ประเมินตนเอง
-ชอบที่มีกิจกกรรมการเรียนเเบบได้ลงมือปฎิบัติ เพราะเราได้เห็นเเละสัมผัสจริง เกิดความรู้เเละมีทักษะการสังเกต ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมกันในกลุ่ม ในการประกอบอาหารอย่างสนุกสนาน
ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆทุกคนต่างก็สนุกสนานกับกิจกรรมที่ทำ ร่วมมือสลับกันเเต่ละฐานอย่างมีความสุข บางคนทำไปกินไปก็มี
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์ให้ข้อเสนอเเนะเเละนำกลับไปเเก่ไขให้ถูกต้องเกี่ยวกับเเผนการสอนของเเต่ละกลุ่มเเล้วนำมาส่ง อาจารย์มีความตั้งใจในการสอนเเละจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร


วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนครั้งที่ 11
วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน 2557 

ในวันนี้อาจารย์ได้นัดให้ทุกกลุ่มนำเสนอเเผนการเรียนรู้ในเเต่ละหน่วย เเละเตรียมความพร้อมในการนำเสนอเเผนการสอน โดยกลุ่มของดิฉันสอนหน่วยกบ ในวันที่ 3 เรื่องวัฎจักรชีวิตของกบ

วัตถุประสงค์ (Objective)
1. บอกกำเนิดของกบได้
2. บอกความเจริญของกบได้
3. เคลื่อนไหวเลียนแบบท่าทางกบได้
4. เกิดความสนุกสนาผ่อนคลาย

สาระที่ควรเรียนรู้
1.  วงจรชีวิตของของกบ
1.2การเจริญเติบโจ
1.3 การกำเนิดของกบ

ประสบการณ์(Experience)สำคัญ
ด้านร่างกาย - เคลื่อนไหวร่างกายเลียนแบบกบ
ด้านอารมณ์ - เกิดความเพลิดเพลินสนุกสนาน ผ่อนคลาย
ด้านสังคม    - มีปฎิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน
ด้านสติปัญญา -  เกิดความคิดและจินตนาการ

กิจกรรม(Activity)การเรียนรุ้
ชั้นนำ 1. ครูและเด้กร่วมกันร้องเพลงกบและใช้ถามเกี่ยวกับ
ชั้นสอน 1. ครูพาเด็กออกไปดูบ่อกบภายนอกห้องเรียน
2. ครูตั้งคำถามเด็กๆว่าดูแล้วเห็นอะไรบ้าง
3. ครูพูดรวบรวมสิ่งที่เด็กเห็นและพร้อมพูดถึงลำดับการเจริญเติบโตของกบพร้อมชาร์ดออกมาให้เด็กดู
ชั้นสรุป 1. ครูให้เด็กนั่งท่าผ่อนคลาย จากนนั้นครูให้เด็กอภิปราย เรื่องวัฐจักรของกบ

สื่อ/แหล่งเรียนรู้(Instruction media)
-ชาร์ตวงจรกบ 
- เพลงกบ
- เครื่องเคาะจังหวะ
- แหล่งการเรียนรุ้นอกห้อง

การวัดและประเมิน (Evaluate)
1. สังเกตการตอบคำถามจากวงจรชีวิตของกบ
2. สังเกตการเคลื่อนไหวร่างกาย
3. สังเกตการจำแนกประเภทของกบ
4. สังเกตอารมณ์ สีหน้า ท่าทาง

การบูรณาการ(integration)
 -พละศึกษา 
 -วิทยาศาสตร์
 -ภาษา

ข้อเสนอเเนะจากอาจารย์ผู้สอนหลังการนำเสนอเเผน
-อาจารย์ให้ปรับเเก้ขั้นสอนโดยหลังจากที่ให้เด็กๆไปดูบ่อกบเเล้วกลับมาที่ห้องเรียนอาจจะให้เด็กๆร่วมกันบอกสิ่งที่เด็กๆเห็นจากบอกกบเเล้วครูก็บันทึกข้อมูลเเล้วนำมาเชื่อมโยงเเละอธิบายวัฎจักรของกบเเต่ละขั้นเเละขณะอธิบายก็ใช้คำถามร่วมปลายเปิดร่วมด้วยเพื่อฝึกให้เด็กๆได้ลองคิดเเละใช้ประสบการณ์ของเด็กที่ได้สัมผัสมา 
-อาจจะใช้นิทานร่วมในการอธิบายวัฏจักรของกบ 
-ให้เด็กมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมการสอนให้ได้มากที่สุดโดยเน้นกระบวนการคิดเเละการเรียนรู้ของเด็ก

เเผนการสอนของกลุ่มอื่น
หน่วยกล้วย 
ขั้นสอนก็จะสอนให้เด็กๆรู้จักวิธีการถนอมกล้วยโดยการเเปรรูปเพื่อให้เก็บไว้รับประทานได้นานโดยทำเป็นกล้วยฉาบหรือกล้วยตาก เพื่อยืดอายุการบริโภค 



หน่วยข้าว
ขั้นสอนจะสอนให้เด็กนำข้าวมาประกอบอาหารตามที่เด็กๆชอบ ทั้งข้าวเหนียว เเละซูชิ เเล้วมีหลายหน้าให้เด็กๆได้มีส่วนร่วมในการทำ ฝึกให้เด็กช่วยเหลือตนเองเรียนรูเลักษณะของข้าวเเต่ละอย่าง




หน่วยไข่
ขั้นสอน จะสอนให้เด็กรู้จักรูปทรงของไข่ ซึ่งบูรณาการไปถึงคณิตศาสตร์ เเละการนำไข่มาประกอบอาหารหรือนำไข่มาเเปรรูปเพื่อให้เก็บไว้บริโภคได้ยาวนาน เเละประโยชน์ของไข่ที่เด็กๆควรรู้




ประเมินตนเองหลังการเรียน
-รับฟังเเละจำข้อเสนอเเนะจากอาจารย์ในการเขียนเเผนเเละการสอนเเผนในเเต่ละขั้น ในวันนี้ดิฉันเเละกลุ่มของดิฉันก็ได้สอนเเผนตามความเข้าใจอาจจะไม่ตรงตามกระบวนการเเละไม่ถูกต้องเท่าที่ควรเเต่จะนำข้อเสนอเเนะเเละความรุ้เพิ่มเติมจากอาจารย์ไปปรับปรุงเเก้ไข เเละปรับใช้ในครั้งต่อไปค่ะ 

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆเเต่ละกลุ่มมีความพร้อมในการนำเสนอเเผนไม่มากเท่าที่ควรเพราะตื่นเต้นเเละอาจจะขาดความพร้อมเเละเเต่ละกลุ่มก็ไม่ได้นำเเผนการสอนไปให้อาจารย์ตรวจทานก่อนการสอนเเผนในชั้นเรียน
เเต่บางกลุ่มก็ทำได้ดีพอสมควร 

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์พยายามนำความรู้เรื่องการเขียนเเผนมาให้นักศึกษาเข้าใจเเละเขียนเเผนถูกต้องทุกกลุ่มเเต่เป็นความพิดพลาดของนักศึกษาที่ไม่ไขว่คว้าเเละเข้าไปปรึกษาอาจารย์ก่อนดำเนินการสอนเเผน เเต่อาจารย์ก็เปิดโอกาสให้เเต่กลุ่มที่เตรียมสื่อในการสอนมาออกมานำเสนอเเผนการสอนพร้อมให้ข้อเสนอเเนะ ปรับปรุงเเก้ไขให้ถูกต้องชัดเจน