ที่มา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
การให้เด็กได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์นั้นถือว่าให้เด็กได้เข้าใจตัวเองเเละโลกรอบตัว เด็กมีธรรมชาติที่เป็นความอยากรู้อยากเห็น มักจะชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรเพื่อเเสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเเละเริ่มมีความเข้าใจธรรมชาติมากขึ้น เด้กสามารถสังเกตเเละสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องดิน หิน อากาศเเละท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานจากเเม่เหล็ก เเสงเเละเสียง นอกจากนี้เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำเเละความร้อน สิ่งเหล่านี้เองทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มมีการทำงานทางวิทยาศาสตร์ สามารถเเก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้อย่างมากมาย เเละกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ล้วนส่งเสริมการสร้างความมั่นใจลดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ พัฒนาการทางสติปัญญาให้เเก่เด็ก เช่น ทักษะการสังเกต การจำเเนก ประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะเน การสื่อสาร เเละยังพัฒนาอารมณ์ให้เด็กเกิดเจตคติในทางบวก วิทยาศาสตร์นั้นมีขอบข่ายค่อนข้างกว้างขวาง เเต่โดยสรุปที่ควรจัดให้เด็กได้เรียนรู้ก็คือ การศึกษาธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเด็กโดยมีขั้นตอนการศึกษาค้นคว้า ทำความเข้าใจเเละอธิบายธรรมชาติที่อยู่รอบตัวได้ เช่น พฤติกรรมการเปลี่ยนเเปลง ปรากฏการณ์ต่างๆ นำไปสู่การสื่อสารเเละการเเสดงออกทางปัญญาในการเเสดงความคิดเห็นผ่านภาษาโดยการพูดเเละการเขียนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จะส่งสนับสนุนความอยากรู้ ความสนใจของเด็ก เเละในที่สุดก็จะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกประสบผลสำเร็จ
บทโทรทัศน์ครู เรื่อง จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย
เด็กปฐมวัยมีความอยากรู้อยากเห็น อยากที่จะลอง เเละพยายามที่จะโชว์เพื่อให้เพื่อนๆยอมรับในตัวเขา หลักการของอาจารย์คือเน้นการทดลอง เเละให้เด้กจดจำ โดยอาจารย์สอนเรื่อง เสียง ครูเปิดโอกาสให้เด็กๆเเสดงความสามารถทางเสียงเป็นการนำเข้าสู่บทเรียนเเละการใช้คำถามเพื่อให้เด็กเกิดกระบวนการคิดเเละสังเกต เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งเเวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด้กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล เเสวงหาความรุ้ สามารถเเก้ไขปัญหาได้ ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็ก ได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากการเรียนคือการพัฒนาเครื่องดนครี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น