วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนครั้งที่ 8
วันอังคารที่ 14 ตุลาคม 2557

วันนี้เเต่ละคนได้นำสื่อวิทยาศาสตร์มานำเสนอหน้าชั้นเรียนกัน เพื่อนๆเเต่ละคนก็ประดิษฐ์(invent)มาโดยไม่ซ้ำกัน
ดิฉันได้ประดิษฐ์ไปป์เลี้ยงลูกบอล




อุปกรณ์(tool)ในการประดิษฐ์มีดังนี้
1,หลอด (straw) ดูดน้ำหวาน
2.กระดาษสี (colored paper) เหลือใช้
3.ลูกปิงปอง (table tennis) หรือทำจากเศษกระดาษปั้นเป็นลูกกลมๆ
4.กาว(glue)


ขั้นตอน(step)การประดิษฐ์
1.นำเศษกระดาษมาตัดเป็นกรวยให้ขนาดรูพอดีกับหลอดเเล้วติดกาว
2.ลองเป่าลมดู ว่าสามารถเลี้ยงลูกบอลให้ลอยขึ้นได้หรือป่าว

หลักการทำงานของของเล่นชิ้นนี้คือความสัมพันธ์ระหว่างความดันเเละความเร็วของอากาศ ธรรมชาติของอากาศ(เเละของไหลได้เช่น น้ำ) ก็คือที่ใดที่อากาศไหลเร็ว ความดันอากาสเเถวนั้นจะน้อย ดังนั้นถ้าบริเวณอื่นที่อยู่รอบๆมีความดันอากาศมากกว่า ก็จะมีลมวิ่งจากที่ความดันมากเข้าหาที่ความดันน้อยกว่า หลักการนี้เรียกว่าหลักการของ เบอร์นูลลี เมื่อเราเป่าลมใต้ลูกบอลเเรงลมก็จะผลักให้ลูกบอลลอยขึ้นมา ลมที่อยู่ด้านล่างของลูกบอลก็จะไหลไปด้านข้างๆขึ้นไปข้างบนในที่สุดลมเหล่านี้วิ่งเร็วกว่าอากาศที่อยู่ห่างจากลูกบอล ความดันด้านข้างใกล้ๆลูกบอลจึงต่ำกว่าความดันที่ห่างออกไปข้างๆ จึงมีเเรงผลักรอบๆให้ลุกบอลอยู่บริเวณที่มีลมเป่าขึ้นเสมอเราจึงสามารถ"เลี้ยง"ลูกบอลอยู่ได้นานๆ



การเลี้ยงลูกบอลของเด็กๆ


ที่มาจาก Pongskorn Saipetch บล็อก วิทย์พ่อโก้ 

ประเมินตนเอง
-วันนี้เเต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ร่วมกันอภิปรายเรื่องเเผนการสอนกับอาจารย์ในท้ายชั่วโมง โดยพูดถึงขั้นตอนการเชื่อมโยงเเผนเข้ากับกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆอย่างถูกต้อง
เเละสิ่งที่ได้จากการประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ก็คือการฝึกให้เด็กรู้จักนำสิ่งต่างๆรอบตัวที่มีอยู่มาสร้างสรรค์ให้เกิดวิทยาศาสตร์ โดยให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง
ประเมินเพื่อนๆ 
-เพื่อนส่วนใหญ่ประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์มาได้อย่างสนใจเเต่ที่อาจารย์ติไปก็คือการนำเสนอยังไม่ครอบคลุมเนื้อหาเเละยังไม่เข้าถึงหลักการทางวิทยาศาสตร์เท่าที่ควร
ประเมินอาจารย์
-อาจารย์เข้าสอนก่อนเวลาเพื่อให้นักศึกษาได้เตรียมตัวในการนำเสนอสื่อประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ เมื่อเพื่อนๆนำเสนอเสร็จอาจารย์ก็ให้คำเเนะนำติชมถึงการนำเสนอในการเตรียมตัวในการพูดถึงหลักการที่สอดคล้องกับสื่อที่เเต่ละคนประดิษฐ์มา



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น