วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนครั้งที่ 10 
วันอังคารที่ 28 ตุลาคม 2557

เเนวคิดพื้นฐาน วิทยาศาสตร์คือการเปลี่ยนเเปลง การสังเกต (observe) เป็นทักษะ(skill)ที่จะได้ข้อมูล
เจตคติ (attitude) การอยากรู้อยากเห็น(curious)ของเด็ก การทดลอง(experiment) จะครอบคลุมไปถึงการเปลี่ยนเเปลง

การทดลองวิทยาศาสตร์

1.เเก้วครอบเทียน

   สิ่งที่เห็น > การเผาไหม้ทุกอย่างต้องการอากาศเมื่อเทียนมีการเผาไหม้ อากาศในเเก้วถูกใช้ไป อากาศที่ถูกใช้คือเเก๊สออกซิเจนเท่านั้น ซึ่งปริมาณของออกซิเจนมีปริมาณ 1 ใน 3 ของอากาศทั้งหมด เมื่อการเผาไหม้ใช้ออกซิเจนไป จึงเกิดที่ว่างขึ้นในเเก้ว







2.ดอกไม้บาน

พับกระดาษเป็นสี่เหลี่ยมสี่ครั้ง เเล้วใช้วิธีการฉีกกระดาษเริ่มจากมุมกระดาษ ในลักษณะดอกไม้เป็นกลีบ 4 กลีบ 



สิ่งที่เห็นเมื่อนำไปลอยน้ำ


กรณีที่ 1 กระดาษที่พับเป็นกลีบซ้อนกันจะค่อยๆบานออก


กรณีที่ 2 เมื่อลอยน้ำกระดาษจะไม่บานออกเนื่องจากพับกลีบเเน่นเกินไป

3.การทดลองใครเเรงกว่ากัน
รูที่เจาะ 3 ระดับ คือ บน กลาง ล่าง
สมมุติฐาน คือ น้ำที่ออกมาจากรูที่ 1 น่าจะเเรงที่สุดตามลำดับ
สิ่งที่เห็นจากการทดลอง  เมื่อนำน้ำใส่ขวดเเล้วน้ำจะไหลออกมาตามรูที่ 1 น้ำออกมากที่สุด รู้ที่ 2 ออกมามากเป็นอันดับสองเเต่จะพุ่งไปได้ไกลที่สุด รูที่ 3 น้ำออกน้อยที่สุดเเละเเรงเป็นอันดับ 2 เพราะเเรงดันรูที่ 1 น้อยเพราะอยู่ใกล้อากาศที่ปากขวดมากที่สุด รูที่ 2 น้ำไหลได้ไปไกลเพราะมีเเรงดันมากที่สุด

4.การไหลของน้ำ
สิ่งที่เห็นจากการทดลอง> เเรงดันของน้ำ เป็นเเรงของน้ำที่กดลงบนพื้นที่บริเวณหนึ่งๆ เเรงดันของน้ำจะมีความสัมพันธ์กับระดับการไหลของน้ำ โดยน้ำที่อยู่ในระดับเดียวกันจะมีเเรงดันของน้ำเท่ากันเเละน้ำที่อยู่ในระดับที่ลึกกว่าจะมีเเรงดันมากกกว่าน้ำที่อยู่ระดับที่ตื้นกว่า
ลักษณะที่สำคัญของน้ำก็คือ ลักษณะการเคลื่อนที่ของน้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเสมอเนื่องจากเเรงดึงดูดของโลก

5.ดินน้ำมันลอยน้ำ
สิ่งที่เห็นเเละเกิดขึ้น > 
    เมื่อเราหย่อนดินน้ำมันที่ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ ลงในอ่างน้ำ ดินน้ำมันจะจม แต่เมื่อนำดินน้ำมันก้อนเดิมมาปั้นให้มีลักษณะเป็นแผ่นแบน ๆ  มีรูปร่างคล้ายเรือ ปรากฏว่า ลอยน้ำได้   ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น การที่วัตถุสามารถลอยตัวอยู่ในน้ำได้  เนื่องจาก วัตถุนั้นมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ   และน้ำก็มีแรงดันวัตถุให้ลอยขึ้นมา    แรงนี้เรียกว่า   ?แรงลอยตัวหรือแรงพยุง?    ซึ่งแรงนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่    ยิ่งวัตถุมีพื้นที่สัมผัสกับน้ำมากเท่าไหร่   หรือเข้าไปแทนที่น้ำได้มาก (สังเกตจากปริมาณน้ำในขันหรือชามที่สูงขึ้น)  ความหนาแน่นของวัตถุจะลดลง   และแรงลอยตัวจะเพิ่มขึ้น   วัตถุุุจึงลอยตัวในน้ำได้
          ดังนั้นหากแผ่วัตถุให้มีขนาดใหญ่และมีขอบโค้งขึ้นมาคล้ายเรือ  วัตถุนั้นก็จะลอยตัวได้ดี  เช่นเดียวกับดินน้ำมันที่เราปั้นโดยแผ่ออกเป็นรูปเรือ ส่วนดินน้ำมันที่ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ  จะจมดิ่งลงใต้น้ำ  เพราะก้อนดินน้ำมันมีขนาดเล็ก   จึงแทนที่น้ำได้ไม่มาก   แรงลอยตัวก็น้อยด้วย    ดังนั้นเรือที่มีขนาดใหญ่   ถึงแม้ว่าจะมีน้ำหนักมาก   แต่ก็มีส่วนที่เข้าไปแทนที่น้ำได้มาก    ทำให้เรือลอยตัวอยู่บนผิวน้ำได้ดี
นอกจากนั้นแล้ว หากเราทดลองนำวัสดุต่าง ๆ ที่มีลักษณะแบน เช่นจานกระเบื้อง ไปลอยน้ำ  พบว่าบางครั้ง มันอาจจะจม  เนื่องจากจานใบนั้นมีความหนาแน่นที่มากกว่าน้ำ  และมีแรงลอยตัวไม่มากพอที่จะทำให้จานสามารถลอยตัวอยู่บนผิวน้ำได้และนี่ก็เป็นหลักการง่าย ๆ  ในเรื่องของแรงลอยตัว
(float)   ที่จะทำให้เราหลายคนหายสงสัยซะที ว่าทำไมเรือที่ทำจากเหล็กหนักหลายกิโลกรัม  จึงสามารถลอยอยู่ในน้ำได้  นอกจากนั้นแรงลอยตัวนี้ ยังทำให้เราสามารถพยุงตัวเองให้ลอยอยู่ในน้ำได้อีกด้วย 

6.ปากกาในน้ำ 
สิ่งที่เห็นเเละเกิดขึ้น>ปากกาจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อมองในเเก้ว เเละดูปากกาหักเนื่องจากการหักเหของเเสง รังสีของเเสงที่เคลื่อนที่จากอากาศเข้าสู่เเก้วจะเบนหรือหักเหเข้าเส้นปกติ รังสีของเเสงที่เคลื่อนที่จากเเก้วไปสู่อากาศจะหักเหเข้าเส้นปกติ


การเขียนเเผนการสอนจะต้องมีการเชื่อมโยงกันของทุกเเผนใน 1 สัปดาห์ โดยกลุ่มของดิฉันที่อาจารย์เลือกให้ออกมาเป็นเเบบอย่างการสอนคือหน่วยเรื่องวงจรชีวิตของกบ โดยอาจารย์เเนะนำว่าอาจจะให้มีการนำกบจริงมาให้เด็กดูเเละศึกษา

ประเมินตนเอง
-ชอบในการทดลองวิทยาศาสตร์ เพราะได้ศึกษา สังเกตเเละหาเหตุผลด้วยเองเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นเเละสนุกสนานมากทำให้เราฝึกการคิด การหาเหตุผลต่างๆมาสรุปการทดลองทุกครั้งเพื่อหาคำตอบของการทดลอง

ประเมินเพื่อนๆ
-เพื่อนๆทุกคนต่างก็ชอบที่ได้ทำการทดลองวิทยาศาสตร์ที่เเสนสนุกเเละเพลิดเพลิน ทุกคนต่างก็ให้ความร่วมมือทุกกิจกรรมการทดลองเเละร่วมกันสังเกตเเละหาเหตุผลมาประกอบการทดลอง

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์ได้นำสิ่งต่างๆมาให้นักศึกษามาร่วมกันทดลอง พร้อมให้นักศึกษาหาคำตอบเเละเหตุผลจากการทดลองเเละวิธีการนำไปปรับสอนกับเด็กในรายวิชาวิทยาศาสตร์



1 ความคิดเห็น:

  1. 1.แนวคิดพื้นฐานวิทย์คืออะไร
    2.กรณีที่ 2 เมื่อลอยน้ำกระดาษจะไม่บานออกเนื่องจากพับกลีบเเน่นเกินไปมันน่าจะบานแต่ช้ามากนะ
    3.เมื่อนำน้ำใส่ขวดเเล้วน้ำจะไหลออกมาตามรูที่ 1 น้ำออกมากที่สุด(ลองตรวจสอบดูว่าเกิอะไรขึ้น) รู้ที่ 2 ออกมามากเป็นอันดับสองเเต่จะพุ่งไปได้ไกลที่สุด(ใช่จริงหรือ)รูที่ 3 น้ำออกน้อยที่สุดเเละเเรงเป็นอันดับ 2(ตรวจสอบใหม่) เพราะเเรงดันรูที่ 1 น้อยเพราะอยู่ใกล้อากาศที่ปากขวดมากที่สุด รูที่ 2 น้ำไหลได้ไปไกลเพราะมีเเรงดันมากที่สุด(ครูว่าคุณสับสนลองทดลองหาคำตอบซิคะ)
    ลองพิจารณาและแก้ไขนะคะ

    ตอบลบ