วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนครั้งที่ 5 
วันอังคารที่ 16 กันยายน 2557

    เริ่มต้นบทเรียนอาจารย์ให้นักศึกษาฟังเพลงเนื้อร้องเเละทำนองเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก เเต่นักศึกษาไม่ฟัง พูดคุยส่งเสียงดังไม่เกรงใจอาจารย์ อีกทั้งปัญหาเรื่องระบบ electronics ไม่สมบูรณ์แบบเกิดความขัดข้องในระบบเสียง เมื่อเพลงจบอาจารย์ได้กล่าวถึงเรื่องกาลเทศะ Propriety พร้อมยกตัวอย่างทฤษฎีของฟรอยด์ ที่เป้นทฤษฎีด้านจิตวิเคราะห์กลา่าวคือพฤติกรรมที่เป้นทฤษฎีที่เป็นไปตามหลักและเหตุผลในความเป้นจริงตามหลักการของอีโก้ Ego จากนั้นอาจารย์ถามนักศึกษาขนาดที่นักศึกษาเงียบแล้วว่าขณะที่อาจารย์ให้ฟังเพลงนักศึกษาแสดงพฤติกรรมที่ไม่สมควรอะไรบ้างออกมาทุกคนก็ตอบมาเป็นเสียงเดียวกันว่าเสียงรบกวนสมาธิอาจารย์ผู้สอน เสียงดัง สร้างความวุ่นวายให้เพื่อนๆและอาจารย์ผู้สอน อาจารย์จึงกล่าวสรุปว่าทุกคนควรมีประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเป้นผู้ฟังที่ดี ผู้พูดที่ดี

จากนั้นเพือนๆก็ได้ออกมานำเสนอบทความตามเลขที่
 เรื่องที่ 1 สอนลูกเรื่องปรากฎการณ์ธรรมชาติสำคัญอย่างไร
รายละเอียดของบทความพูดถึงเรื่องการให้ความสำคัญต่อลูกในเรื่องของปรากฎการณ์ธรรมชาติต่างๆที่เด็กสนใจและอยากจะเรียนรู้โดยพ่อแม่ควรให้ความสำคัญและให้ความรู้ความเข้าใจอธิบายเรื่องราวทางธรรมชาติในแบบง่ายๆที่เด็กพอจะเข้าใจ

* หมายเหตุ  ในคาบเรียนนี้เพื่อนๆๆนำเสนอบทความแค่ 1 เรื่อง เนื่องจากอาจารย์ติดธุระสำคัญจึงให้เพื่อนที่้หลือนำเสนอในคาบต่อไป และอาจารย์ได้หมอบหมายงานให้นักศึกษา 2 งาน คือ
งานเดี่ยว ให้ศึกษา VDO เรื่องความลับของแสง พร้อมสรุปสาระสำคัญที่ได้จาก VDO ลง Blogger 
งานกลุ่ม   ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 - 6 คน สร้าง Mild Mapping โดยแต่ละกลุ่มให้กำหนดกลุ่มล่ะ 1เรื่อง โดยมีเนื่้อหาที่ละเอียด โดยกลุ่มดิฉันนำเสนอเรื่อง Frog 

                                                                VDOความลับของแสง


                                                                 
                                             สรุปองค์ความรู้ เรื่องความลับของเเสง จาก VDO


ประเมินตนเอง
-คุยกับเพื่อนข้างๆ จนไม่รู้เรื่องสิ่งที่อาจารย์เปิดให้ฟัง ทำให้ตัวเองขาดการเป็นผู้เรียนที่ดีเเละผู้ฟังที่ดีในชั้นเรียน

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆในห้องเเข่งกันคุยเสียงดัง ไม่ฟังอาจารย์สอน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์มีความตั้งใจในการสอนเเต่นักศึกษาไม่สนใจที่จะรับความรู้
-อาจารย์ปล่อยเร็วเนื่องจากติดธุระสำคัญเเต่ก็ให้งานไว้ 







1 ความคิดเห็น:

  1. การเรียนการสอน
    1.ครูสร้างสถานะการณ์ในชั้นเรียน
    2.ครูให้แสดงความคิดเห็นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่ามีเหตุการณ์อะไรบ้าง
    3.ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์เหล่านั้น เป็นประโยชน์หรือข้อควรแก้ไข
    ....สิ่งที่เกิิดขึ้นคือส่วนใหญ่จะแสดงความคิดเห็นเพียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากนักศึกษา ซึ่งจะทำให้เราได้ข้อมูลที่ไม่รอบด้าน
    มีสาเหตุจากการที่นักศึกษาไม่กล้าวิพากษ์สิ่งที่เกี่ยวข้องกับอาจารย์และระบบ ดังนั้นจึงควรที่จะมองและนำเสนอให้ครบทุกด้านเพราะข้อเท็จจริงจะทำให้เราแก้ปัญหาหรือพัฒนางานได้ครอบคลุม ....
    4จึงเริ่มใหม่ให้มองและนำเสนอทุกแง่มุม...
    5.วิเคราะห์สาเหตุแต่ละสาเหตุเช่นเสียงดังทำให้ฟังไม่ชัดผลคือเก็บข้อมูลไม่ครบ เป็นต้น
    6.เสนอแนวทางแก้ไข

    ที่กล่าวมาเป็นคุณลักษณะของนักวิทยาศาสตร์ที่เราจะต้องนำไปปลูกฝังและพัฒนาเด็กต่อไป

    การให้ข้อคิดเห็นเมื่อเพื่อนนำเสนอบทความเป็นการสอนที่สอดแทรกหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม
    เช่นการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กไม่จำกัดเพียงในชั้นเรียนแต่ควรให้ความรู้ผู้ปกครองเพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนา ด้วยสื่อชนิดต่างๆเช่นแผ่นพับ , Face Book เป็นต้น ดังนั้นการสรุปจากการฟังบทความและการวิเคราะห์พร้อมเสนอแนะเพิ่มเติมเป็นสิ่งสำคัญ

    ตอบลบ