วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนครั้งที่ 14
วันพุธที่  25  พฤศจิกายน 2557
activity today
กิจกรรมในวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาบางส่วนออกมานำเสนอบทโทรทัศน์ครู เเผนการจัดประสบการณ์ โดยสรุปความรู้ที่ได้ วิเคาระห์ เเละบอกถึงการนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ในชั้นเรียน
การทำไอติมจากน้ำหวาน
จุดประสงค์การทดลอง purpose
1.เพื่อให้เด้กได้รับประสบการณ์ตรงด้วยการลงมือปฎิบัติจริง
2.เพื่อให้เด็กได้ฝึกการเรียนรู้ การสังเกต เเละหาคำตอบจากการทดลอง

วัสดุ/อุปกรณ์ material
1.น้ำเเข็ง   ice
2.น้ำหวาน  
3.เกลือเม็ด  salt
4.ถังปั้น หรือกะละมัง  basin / bucket /pot
5.ถุงเเกงขนาดเล็ก  bag

วิธีการทดลอง scientific approach
อัตราส้วนน้ำเเข็ง ต่อ เกลือ 5:1 ใส่น้ำเเข็งลงไปประมาณครึ่งหนึ่งของกะละมัง โดยให้คิดเป็น 5 ส่วน เเล้วใส่เกลือลงไป คิดเป็น 1 ส่วนเมื่อเทียบกับน้ำเเข็งที่ใส่ไปก่อนหน้านี้เเล้ว เเล้วจึงใส่น้ำเเข็งเเละเกลือสลับกันจนเต็ม อาจจะใช้วิธีตักน้ำเเข็ง 5 ทัพพี เเล้วใช้เกลือ 1 ทัพพี โรยรอบๆ จนสุดท้ายปิดท้ายด้วยเกลือ โยกเเละหมุนกะละมังจนกว่าน้ำหวานในถุงจะเย็นเเละเเข็งตัวจนเป็นไอติม (ระหว่างการหมุนควรเติมเกลือลงไปพร้อมน้ำเเข็งเรื่อยๆ เพราะน้ำเเข็งกับเกลือจะมีปฏิกิริยาบีบรัดกันเองคือ เกลือจะออกร้อนๆเวลาถูกน้ำเเล้วไปผสมความเย็นก็จะเกิดความเย็น เกิดการหักเหของอุณหภูมิให้ต่ำลงเป็นอุณหภูมิที่ต่ำสุดหรือมีอุณหภูมิที่ติดลบ 
ผลการทดลอง
เกลือเมื่อผสมกับน้ำเเข็งจะช่วยให้น้ำหวานในถุงเเข็งตัวเป็นไอติม



                                            1.ตักน้ำหวานลงในถุงในปริมาณที่พอเหมาะ รัดปากถุงให้สนิท

                                                       2.ใส่น้ำเเข็งลงไปพร้อมถุงน้ำหวาน



3.เติมน้ำเเข็งอีกครั้งพร้อมเกลือเม็ด




           4.โยกถังหรือหมุนจนกว่าเกลือเเละน้ำเเข็งทำปฏิกิริยาจนทำให้น้ำหวานในถุงเกิดการเเข็งตัวเป็นไอติม

ประเมินตนเอง
-ตั้งใจทดลองการทำไอติมจากน้ำหวาน เป็นกิจกรรมที่สนุกเเละสามารถนำประสบการณ์ความรู้ที่ได้มาปรับใช้การสอนเด็กเเละสามารถให้เด็กนำไปปฏิบัติทดลองที่บ้านกับคนในครอบครัวได้ สรุปผลการทดลองที่ได้เรียนรู้

ประเมินเพื่อนๆ
-เพื่อนๆต่างก็ตั้งใจเเละสนุกกับการทดลองทำไอติมจากน้ำหวาน  โดยทุกคนออกมามีส่วนร่วมในการทดลองทุกคน เเละตั้งใจสังเกตการเปลี่ยนเเปลงของน้ำหวานกันอย่างจดจ่อ ตั้งใจ คล้ายเป้นนาทีลุ้นระทึก เพื่อนต่างเเสดงความเห็นว่าการทดลองทุกครั้งในห้องช่วยให้ไม่น่าเบื่อ สนุกกับมันเเละนำสิ่งที่ได้รับจากการทดลองทุกครั้งไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนเเละนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ประเมินอาจารย์ผู้สอน 
-อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาเเก้ไขเเผนการสอนของทุกคนให้ถูกต้้องเเละนำมาส่ง โดยอาจารย์จะช่วยเเก้ไขให้ถูกต้อง เเละเปิดโอกาสให้นักศึกษาเรียนรู้การทดลองเเละคิดหาคำตอบด้วยตนเองโดนอาจารย์จะอธิบายให้ฟังช่วงสุดท้ายของการทดลอง




วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปบทความ เรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ที่มา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี  ไสยวรรณ
     การให้เด็กได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์นั้นถือว่าให้เด็กได้เข้าใจตัวเองเเละโลกรอบตัว เด็กมีธรรมชาติที่เป็นความอยากรู้อยากเห็น มักจะชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรเพื่อเเสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเเละเริ่มมีความเข้าใจธรรมชาติมากขึ้น เด้กสามารถสังเกตเเละสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องดิน หิน อากาศเเละท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานจากเเม่เหล็ก เเสงเเละเสียง นอกจากนี้เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำเเละความร้อน สิ่งเหล่านี้เองทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มมีการทำงานทางวิทยาศาสตร์ สามารถเเก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้อย่างมากมาย เเละกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ล้วนส่งเสริมการสร้างความมั่นใจลดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ พัฒนาการทางสติปัญญาให้เเก่เด็ก เช่น ทักษะการสังเกต การจำเเนก ประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะเน การสื่อสาร เเละยังพัฒนาอารมณ์ให้เด็กเกิดเจตคติในทางบวก วิทยาศาสตร์นั้นมีขอบข่ายค่อนข้างกว้างขวาง เเต่โดยสรุปที่ควรจัดให้เด็กได้เรียนรู้ก็คือ การศึกษาธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเด็กโดยมีขั้นตอนการศึกษาค้นคว้า ทำความเข้าใจเเละอธิบายธรรมชาติที่อยู่รอบตัวได้ เช่น พฤติกรรมการเปลี่ยนเเปลง ปรากฏการณ์ต่างๆ นำไปสู่การสื่อสารเเละการเเสดงออกทางปัญญาในการเเสดงความคิดเห็นผ่านภาษาโดยการพูดเเละการเขียนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จะส่งสนับสนุนความอยากรู้ ความสนใจของเด็ก เเละในที่สุดก็จะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกประสบผลสำเร็จ

บทโทรทัศน์ครู เรื่อง จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย 
เด็กปฐมวัยมีความอยากรู้อยากเห็น อยากที่จะลอง เเละพยายามที่จะโชว์เพื่อให้เพื่อนๆยอมรับในตัวเขา หลักการของอาจารย์คือเน้นการทดลอง เเละให้เด้กจดจำ โดยอาจารย์สอนเรื่อง เสียง ครูเปิดโอกาสให้เด็กๆเเสดงความสามารถทางเสียงเป็นการนำเข้าสู่บทเรียนเเละการใช้คำถามเพื่อให้เด็กเกิดกระบวนการคิดเเละสังเกต เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งเเวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด้กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล เเสวงหาความรุ้ สามารถเเก้ไขปัญหาได้ ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็ก ได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากการเรียนคือการพัฒนาเครื่องดนครี

บันทึกกิจกรรมการเรียนครั้งที่ 13
วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน 2557 (ชดเชย วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน 2557)

กิจกกรมวันนี้เป็นการประกอบอาหารอีกเเล้วค่ะ สนุกกันอีกเเล้ว วันนี้ขอเสนอเมนู "วาฟเฟิลเเสนอร่อย"
Cooking
การเตรียมอุปกรณ์
1.ที่ตีเเป้ง whisk
2.ไข่ไก่ egg
3.เนย butter
4.เเป้ง
5.นมจืด milk
6.น้ำร้อน hot water
7.ถ้วยขนาดใหญ่เเละเล็ก cup
8.เครื่องอบวาฟเฟิล
ขั้นตอนการทำ
1.นำไข่ไก่ น้ำเเละเเป้งวาฟเฟิลใส่ภาชนะผสมกันเเล้วตีผสมให้เข้ากัน
Blend egg water and waffle mix flour until homogeneous
2.หยอดเเป้งลงบนพิมพ์วาฟเฟิลที่ทาเนย เเละร้อนดีเเล้วจนเต็มพิมพ์
Heat the waffle iron and grease with butter then pour batter on the iron and close it
3.อบทิ้งไว้ประมาณ 3-4 นาที เพียงเเค่นี้ก็จะได้วาฟเฟิลเเล้ว
Bake for 3-4 minutes then lift the waffle out of iron






ดูจากภาพเเล้วสนุกสนานกันเลยทีเดียว 

**การสะท้อนความคิดหลังการทำกิจกรรมเเละการนำไปใช้ในเชิงวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับปฐมวัย
กิจกรรมการทำอาหาร หรือ cooking สามารถนำไปใช้สอนเด็กเพื่อให้เด็กๆเรียนรู้ที่จะใช้ทักษะทางด้านภาษาในการสื่อสาร คณิตศาสตร์ในการทำอาหารในการวัด คำนวน รวมทั้งได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ควบคู่ไปด้วย เช่น การเปลี่ยนเเปลงของสิ่งต่างๆ เมื่อถูกความร้อน ความเย็น เป็นต้น ในการทำอาหารถ้าเด็กได้ลงมือทำ เด็กก็จะได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ คือ หู-ฟัง ตา-ดู ปาก-ชิมลิ้มรส จมูก-ได้รับกลิ่น
มือ-จับต้องสัมผัส รวมไปถึงการต่อยอดทักษะทั้ง 4 ด้าน อย่างเหมาะสม 

ประเมินตนเอง
จากกิจกรรมวันนี้สอนให้ทุกคนได้ลงมือปฏิบัติเเละฝึกคิดสิ่งที่จะได้รับเเละการนำไปสอนเด็กปฐมวัยให้ถูกต้องเเละเกิดกระบวนการเรียนรู้ให้มากที่สุด เเละการวางเเผนก่อนลงมือปฏิบัติกิจกรรมทุกครั้ง

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทุกคนมีความคิดเห็นว่าควรจะมีการจัดกิจกรรมการทำอาหารบ่อยๆเพราะหลายคนได้มีส่วนร่วมกันเเละมีความสนุกสนานระหว่างการทำกิจกรรมเกิดการเรียนรู้หลายอย่างเเละไม่น่าเบื่อ เป็นประสบการณ์ที่ดีอีกด้วย 
ประเมินอาจารย์ผู้สอน 
อาจารย์ชี้เเจงเเละอธิบายสิ่งที่ควรนำไปใช้กับเด็กในการจัดกิจกรรมนี้ เเละข้อควรระวัง เเละสิ่งที่นักศึกษาจะต้องปรับปรุงเเก้ไขในการจัดกิจกรรมเเบบนี้ 












วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนครั้งที่ 12 
วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน 2557 

   ทุกคนควรจะสรุปบทความ งานวิจัย เเละวิดีโอโทรทัศน์ครูใน Blogger ของตนเองทุกคน โดยสรุปสาระสำคัญเเละสิ่งที่เราเข้าใจ เรื่องเเผนการสอนเป็นสิ่งที่อาจารย์เป็นห่วงมากที่สุด เพราะอยากให้นักศึกษามีความเข้าใจเเละเเม่นในเรื่องการเขียนเเผนการสอน

กลุ่มที่เหลือนำเสนอเเผนการสอน 
หน่วย สัปปะรด pineapple 



-ข้อเสนอเเนะ ควรปรุงสุกผลไม้ก่อนเช่น ควรต้มน้ำเชื่อมมา เเละคั่นเนื้อสัปปะรดมาให้สะอาดเพื่อความปลอดภัยในการกินของเด็ก

หน่วยทุเรียน durian


-ข้อเสนอเเนะ ควรใช้ตารางในการสรุปความคิดรวบยอดของเด็ก

หน่วยส้ม orange 

-ข้อเสนอเเนะ ควรเขียนเเผนให้มีความสมบูรณ์มากกว่านี้ เเต่ขอชมเชยการเตรียมสื่อการสอนที่น่าสนใจ

หน่วยมด ant
-ข้อเสนอเเนะ วางเเผนการสอนเเละขั้นสรุปให้ชัดเจน

หน่วยน้ำ water
-ข้อเสนอเเนะ  นำเสนอได้ดี น่าสนใจ พอสมควร


ทำอาหาร cooking

การสอนเด็กวิธีการประกอบอาหาร จะต้องจัดกลุ่มให้เด็กเเล้วเเบ่งหน้าที่กันปฏิบัติ
                                             ฐานที่ 1 ตัดกระดาษรองถ้วย (ฝึกทักษะศิลปะ)

                                                                       ฐานที่ 2 หั่นผัก

                             
                                                                  ฐานที่ 3 ตอกไข่ ตีไข่


                                                                     ฐานที่ 4 ปรุงรส




                                                               ฐานที่ 5 ประกอบอาหาร





                                                                เสร็จเเล้วจ้าา ไข่หรรษา



เเล้วจากนั้นให้เด็กๆเปลี่ยนฐานกัน เพื่อที่จะสลับกันทำทุกหน้าที่ ครูผู้สอนจะต้องมีทักษะการใช้คำถามขณะทำกิจกรรมเพื่อให้เด็กมีการสังเกตเเละเกิดทักษะการเรียนรู้หาคำตอบ
เเละสุดท้ายอาหารที่ได้ก็ฝึกให้เด้กนำไปเเบ่งปันเพื่อนห้องข้างๆ สร้างคุณลักษณะการมีน้ำใจต่อกัน

ประเมินตนเอง
-ชอบที่มีกิจกกรรมการเรียนเเบบได้ลงมือปฎิบัติ เพราะเราได้เห็นเเละสัมผัสจริง เกิดความรู้เเละมีทักษะการสังเกต ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมกันในกลุ่ม ในการประกอบอาหารอย่างสนุกสนาน
ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆทุกคนต่างก็สนุกสนานกับกิจกรรมที่ทำ ร่วมมือสลับกันเเต่ละฐานอย่างมีความสุข บางคนทำไปกินไปก็มี
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์ให้ข้อเสนอเเนะเเละนำกลับไปเเก่ไขให้ถูกต้องเกี่ยวกับเเผนการสอนของเเต่ละกลุ่มเเล้วนำมาส่ง อาจารย์มีความตั้งใจในการสอนเเละจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร


วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนครั้งที่ 11
วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน 2557 

ในวันนี้อาจารย์ได้นัดให้ทุกกลุ่มนำเสนอเเผนการเรียนรู้ในเเต่ละหน่วย เเละเตรียมความพร้อมในการนำเสนอเเผนการสอน โดยกลุ่มของดิฉันสอนหน่วยกบ ในวันที่ 3 เรื่องวัฎจักรชีวิตของกบ

วัตถุประสงค์ (Objective)
1. บอกกำเนิดของกบได้
2. บอกความเจริญของกบได้
3. เคลื่อนไหวเลียนแบบท่าทางกบได้
4. เกิดความสนุกสนาผ่อนคลาย

สาระที่ควรเรียนรู้
1.  วงจรชีวิตของของกบ
1.2การเจริญเติบโจ
1.3 การกำเนิดของกบ

ประสบการณ์(Experience)สำคัญ
ด้านร่างกาย - เคลื่อนไหวร่างกายเลียนแบบกบ
ด้านอารมณ์ - เกิดความเพลิดเพลินสนุกสนาน ผ่อนคลาย
ด้านสังคม    - มีปฎิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน
ด้านสติปัญญา -  เกิดความคิดและจินตนาการ

กิจกรรม(Activity)การเรียนรุ้
ชั้นนำ 1. ครูและเด้กร่วมกันร้องเพลงกบและใช้ถามเกี่ยวกับ
ชั้นสอน 1. ครูพาเด็กออกไปดูบ่อกบภายนอกห้องเรียน
2. ครูตั้งคำถามเด็กๆว่าดูแล้วเห็นอะไรบ้าง
3. ครูพูดรวบรวมสิ่งที่เด็กเห็นและพร้อมพูดถึงลำดับการเจริญเติบโตของกบพร้อมชาร์ดออกมาให้เด็กดู
ชั้นสรุป 1. ครูให้เด็กนั่งท่าผ่อนคลาย จากนนั้นครูให้เด็กอภิปราย เรื่องวัฐจักรของกบ

สื่อ/แหล่งเรียนรู้(Instruction media)
-ชาร์ตวงจรกบ 
- เพลงกบ
- เครื่องเคาะจังหวะ
- แหล่งการเรียนรุ้นอกห้อง

การวัดและประเมิน (Evaluate)
1. สังเกตการตอบคำถามจากวงจรชีวิตของกบ
2. สังเกตการเคลื่อนไหวร่างกาย
3. สังเกตการจำแนกประเภทของกบ
4. สังเกตอารมณ์ สีหน้า ท่าทาง

การบูรณาการ(integration)
 -พละศึกษา 
 -วิทยาศาสตร์
 -ภาษา

ข้อเสนอเเนะจากอาจารย์ผู้สอนหลังการนำเสนอเเผน
-อาจารย์ให้ปรับเเก้ขั้นสอนโดยหลังจากที่ให้เด็กๆไปดูบ่อกบเเล้วกลับมาที่ห้องเรียนอาจจะให้เด็กๆร่วมกันบอกสิ่งที่เด็กๆเห็นจากบอกกบเเล้วครูก็บันทึกข้อมูลเเล้วนำมาเชื่อมโยงเเละอธิบายวัฎจักรของกบเเต่ละขั้นเเละขณะอธิบายก็ใช้คำถามร่วมปลายเปิดร่วมด้วยเพื่อฝึกให้เด็กๆได้ลองคิดเเละใช้ประสบการณ์ของเด็กที่ได้สัมผัสมา 
-อาจจะใช้นิทานร่วมในการอธิบายวัฏจักรของกบ 
-ให้เด็กมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมการสอนให้ได้มากที่สุดโดยเน้นกระบวนการคิดเเละการเรียนรู้ของเด็ก

เเผนการสอนของกลุ่มอื่น
หน่วยกล้วย 
ขั้นสอนก็จะสอนให้เด็กๆรู้จักวิธีการถนอมกล้วยโดยการเเปรรูปเพื่อให้เก็บไว้รับประทานได้นานโดยทำเป็นกล้วยฉาบหรือกล้วยตาก เพื่อยืดอายุการบริโภค 



หน่วยข้าว
ขั้นสอนจะสอนให้เด็กนำข้าวมาประกอบอาหารตามที่เด็กๆชอบ ทั้งข้าวเหนียว เเละซูชิ เเล้วมีหลายหน้าให้เด็กๆได้มีส่วนร่วมในการทำ ฝึกให้เด็กช่วยเหลือตนเองเรียนรูเลักษณะของข้าวเเต่ละอย่าง




หน่วยไข่
ขั้นสอน จะสอนให้เด็กรู้จักรูปทรงของไข่ ซึ่งบูรณาการไปถึงคณิตศาสตร์ เเละการนำไข่มาประกอบอาหารหรือนำไข่มาเเปรรูปเพื่อให้เก็บไว้บริโภคได้ยาวนาน เเละประโยชน์ของไข่ที่เด็กๆควรรู้




ประเมินตนเองหลังการเรียน
-รับฟังเเละจำข้อเสนอเเนะจากอาจารย์ในการเขียนเเผนเเละการสอนเเผนในเเต่ละขั้น ในวันนี้ดิฉันเเละกลุ่มของดิฉันก็ได้สอนเเผนตามความเข้าใจอาจจะไม่ตรงตามกระบวนการเเละไม่ถูกต้องเท่าที่ควรเเต่จะนำข้อเสนอเเนะเเละความรุ้เพิ่มเติมจากอาจารย์ไปปรับปรุงเเก้ไข เเละปรับใช้ในครั้งต่อไปค่ะ 

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆเเต่ละกลุ่มมีความพร้อมในการนำเสนอเเผนไม่มากเท่าที่ควรเพราะตื่นเต้นเเละอาจจะขาดความพร้อมเเละเเต่ละกลุ่มก็ไม่ได้นำเเผนการสอนไปให้อาจารย์ตรวจทานก่อนการสอนเเผนในชั้นเรียน
เเต่บางกลุ่มก็ทำได้ดีพอสมควร 

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์พยายามนำความรู้เรื่องการเขียนเเผนมาให้นักศึกษาเข้าใจเเละเขียนเเผนถูกต้องทุกกลุ่มเเต่เป็นความพิดพลาดของนักศึกษาที่ไม่ไขว่คว้าเเละเข้าไปปรึกษาอาจารย์ก่อนดำเนินการสอนเเผน เเต่อาจารย์ก็เปิดโอกาสให้เเต่กลุ่มที่เตรียมสื่อในการสอนมาออกมานำเสนอเเผนการสอนพร้อมให้ข้อเสนอเเนะ ปรับปรุงเเก้ไขให้ถูกต้องชัดเจน


วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนครั้งที่ 10 
วันอังคารที่ 28 ตุลาคม 2557

เเนวคิดพื้นฐาน วิทยาศาสตร์คือการเปลี่ยนเเปลง การสังเกต (observe) เป็นทักษะ(skill)ที่จะได้ข้อมูล
เจตคติ (attitude) การอยากรู้อยากเห็น(curious)ของเด็ก การทดลอง(experiment) จะครอบคลุมไปถึงการเปลี่ยนเเปลง

การทดลองวิทยาศาสตร์

1.เเก้วครอบเทียน

   สิ่งที่เห็น > การเผาไหม้ทุกอย่างต้องการอากาศเมื่อเทียนมีการเผาไหม้ อากาศในเเก้วถูกใช้ไป อากาศที่ถูกใช้คือเเก๊สออกซิเจนเท่านั้น ซึ่งปริมาณของออกซิเจนมีปริมาณ 1 ใน 3 ของอากาศทั้งหมด เมื่อการเผาไหม้ใช้ออกซิเจนไป จึงเกิดที่ว่างขึ้นในเเก้ว







2.ดอกไม้บาน

พับกระดาษเป็นสี่เหลี่ยมสี่ครั้ง เเล้วใช้วิธีการฉีกกระดาษเริ่มจากมุมกระดาษ ในลักษณะดอกไม้เป็นกลีบ 4 กลีบ 



สิ่งที่เห็นเมื่อนำไปลอยน้ำ


กรณีที่ 1 กระดาษที่พับเป็นกลีบซ้อนกันจะค่อยๆบานออก


กรณีที่ 2 เมื่อลอยน้ำกระดาษจะไม่บานออกเนื่องจากพับกลีบเเน่นเกินไป

3.การทดลองใครเเรงกว่ากัน
รูที่เจาะ 3 ระดับ คือ บน กลาง ล่าง
สมมุติฐาน คือ น้ำที่ออกมาจากรูที่ 1 น่าจะเเรงที่สุดตามลำดับ
สิ่งที่เห็นจากการทดลอง  เมื่อนำน้ำใส่ขวดเเล้วน้ำจะไหลออกมาตามรูที่ 1 น้ำออกมากที่สุด รู้ที่ 2 ออกมามากเป็นอันดับสองเเต่จะพุ่งไปได้ไกลที่สุด รูที่ 3 น้ำออกน้อยที่สุดเเละเเรงเป็นอันดับ 2 เพราะเเรงดันรูที่ 1 น้อยเพราะอยู่ใกล้อากาศที่ปากขวดมากที่สุด รูที่ 2 น้ำไหลได้ไปไกลเพราะมีเเรงดันมากที่สุด

4.การไหลของน้ำ
สิ่งที่เห็นจากการทดลอง> เเรงดันของน้ำ เป็นเเรงของน้ำที่กดลงบนพื้นที่บริเวณหนึ่งๆ เเรงดันของน้ำจะมีความสัมพันธ์กับระดับการไหลของน้ำ โดยน้ำที่อยู่ในระดับเดียวกันจะมีเเรงดันของน้ำเท่ากันเเละน้ำที่อยู่ในระดับที่ลึกกว่าจะมีเเรงดันมากกกว่าน้ำที่อยู่ระดับที่ตื้นกว่า
ลักษณะที่สำคัญของน้ำก็คือ ลักษณะการเคลื่อนที่ของน้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเสมอเนื่องจากเเรงดึงดูดของโลก

5.ดินน้ำมันลอยน้ำ
สิ่งที่เห็นเเละเกิดขึ้น > 
    เมื่อเราหย่อนดินน้ำมันที่ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ ลงในอ่างน้ำ ดินน้ำมันจะจม แต่เมื่อนำดินน้ำมันก้อนเดิมมาปั้นให้มีลักษณะเป็นแผ่นแบน ๆ  มีรูปร่างคล้ายเรือ ปรากฏว่า ลอยน้ำได้   ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น การที่วัตถุสามารถลอยตัวอยู่ในน้ำได้  เนื่องจาก วัตถุนั้นมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ   และน้ำก็มีแรงดันวัตถุให้ลอยขึ้นมา    แรงนี้เรียกว่า   ?แรงลอยตัวหรือแรงพยุง?    ซึ่งแรงนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่    ยิ่งวัตถุมีพื้นที่สัมผัสกับน้ำมากเท่าไหร่   หรือเข้าไปแทนที่น้ำได้มาก (สังเกตจากปริมาณน้ำในขันหรือชามที่สูงขึ้น)  ความหนาแน่นของวัตถุจะลดลง   และแรงลอยตัวจะเพิ่มขึ้น   วัตถุุุจึงลอยตัวในน้ำได้
          ดังนั้นหากแผ่วัตถุให้มีขนาดใหญ่และมีขอบโค้งขึ้นมาคล้ายเรือ  วัตถุนั้นก็จะลอยตัวได้ดี  เช่นเดียวกับดินน้ำมันที่เราปั้นโดยแผ่ออกเป็นรูปเรือ ส่วนดินน้ำมันที่ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ  จะจมดิ่งลงใต้น้ำ  เพราะก้อนดินน้ำมันมีขนาดเล็ก   จึงแทนที่น้ำได้ไม่มาก   แรงลอยตัวก็น้อยด้วย    ดังนั้นเรือที่มีขนาดใหญ่   ถึงแม้ว่าจะมีน้ำหนักมาก   แต่ก็มีส่วนที่เข้าไปแทนที่น้ำได้มาก    ทำให้เรือลอยตัวอยู่บนผิวน้ำได้ดี
นอกจากนั้นแล้ว หากเราทดลองนำวัสดุต่าง ๆ ที่มีลักษณะแบน เช่นจานกระเบื้อง ไปลอยน้ำ  พบว่าบางครั้ง มันอาจจะจม  เนื่องจากจานใบนั้นมีความหนาแน่นที่มากกว่าน้ำ  และมีแรงลอยตัวไม่มากพอที่จะทำให้จานสามารถลอยตัวอยู่บนผิวน้ำได้และนี่ก็เป็นหลักการง่าย ๆ  ในเรื่องของแรงลอยตัว
(float)   ที่จะทำให้เราหลายคนหายสงสัยซะที ว่าทำไมเรือที่ทำจากเหล็กหนักหลายกิโลกรัม  จึงสามารถลอยอยู่ในน้ำได้  นอกจากนั้นแรงลอยตัวนี้ ยังทำให้เราสามารถพยุงตัวเองให้ลอยอยู่ในน้ำได้อีกด้วย 

6.ปากกาในน้ำ 
สิ่งที่เห็นเเละเกิดขึ้น>ปากกาจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อมองในเเก้ว เเละดูปากกาหักเนื่องจากการหักเหของเเสง รังสีของเเสงที่เคลื่อนที่จากอากาศเข้าสู่เเก้วจะเบนหรือหักเหเข้าเส้นปกติ รังสีของเเสงที่เคลื่อนที่จากเเก้วไปสู่อากาศจะหักเหเข้าเส้นปกติ


การเขียนเเผนการสอนจะต้องมีการเชื่อมโยงกันของทุกเเผนใน 1 สัปดาห์ โดยกลุ่มของดิฉันที่อาจารย์เลือกให้ออกมาเป็นเเบบอย่างการสอนคือหน่วยเรื่องวงจรชีวิตของกบ โดยอาจารย์เเนะนำว่าอาจจะให้มีการนำกบจริงมาให้เด็กดูเเละศึกษา

ประเมินตนเอง
-ชอบในการทดลองวิทยาศาสตร์ เพราะได้ศึกษา สังเกตเเละหาเหตุผลด้วยเองเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นเเละสนุกสนานมากทำให้เราฝึกการคิด การหาเหตุผลต่างๆมาสรุปการทดลองทุกครั้งเพื่อหาคำตอบของการทดลอง

ประเมินเพื่อนๆ
-เพื่อนๆทุกคนต่างก็ชอบที่ได้ทำการทดลองวิทยาศาสตร์ที่เเสนสนุกเเละเพลิดเพลิน ทุกคนต่างก็ให้ความร่วมมือทุกกิจกรรมการทดลองเเละร่วมกันสังเกตเเละหาเหตุผลมาประกอบการทดลอง

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์ได้นำสิ่งต่างๆมาให้นักศึกษามาร่วมกันทดลอง พร้อมให้นักศึกษาหาคำตอบเเละเหตุผลจากการทดลองเเละวิธีการนำไปปรับสอนกับเด็กในรายวิชาวิทยาศาสตร์



วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนครั้งที่ 9
วันอังคารที่ 21 ตุลาคม 2557 

เพื่อนๆที่ยังไม่ได้นำเสนอสื่อประดิษฐ์วิทยาศาตร์อาทิตย์ที่เเล้วนำมานำเสนอต่อในช่วงต้นวิชา


จากนั้นเเต่ละกลุ่มก็จัดโต๊ะเป็นตัว U เพื่อนั่งเป็นกลุ่มตามเเผนของตัวเองเเล้วช่วยกันอภิปรายถึงเรื่องเเผนกันในกลุ่มโดยเริ่มจากการเขียนเเผนตามวันของตนเองที่เเต่ละกลุ่มจะต้องตกลงกันในกลุ่มว่าใครจะเลือกสอนวันใดใน 5 วัน โดยกำหนดเรื่องใน 1 หน่วย โดยจะมีชนิด  ลักษณะ ประโยชน์ วงจรชีวิต เเละการเลี้ยงดู
โดยกลุ่มของดิฉันสอนเรื่อง กบ (Frog)เเบ่งกันตามนี้ 
วันที่ 1 เรียนเรื่อง ชนิด(kind)ของกบ
วันที่ 2 เรียนเรื่อง ลักษณะ(quality)ของกบ
วันที่ 3 เรียนเรื่องประโยชน์(benefit)ของกบ
วันที่ 4 เรียนเรื่องวงจรชีวิต(life cycle)ของกบ 
วันที่ 5 เรียนเรื่องการเลี้ยงดู 


โดยอาจารย์จะสุ่มเลือกเเต่ละกลุ่มเพียง 1 วันที่จะออกมาสอนหน้าชั้นเรียน

วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนครั้งที่ 8
วันอังคารที่ 14 ตุลาคม 2557

วันนี้เเต่ละคนได้นำสื่อวิทยาศาสตร์มานำเสนอหน้าชั้นเรียนกัน เพื่อนๆเเต่ละคนก็ประดิษฐ์(invent)มาโดยไม่ซ้ำกัน
ดิฉันได้ประดิษฐ์ไปป์เลี้ยงลูกบอล




อุปกรณ์(tool)ในการประดิษฐ์มีดังนี้
1,หลอด (straw) ดูดน้ำหวาน
2.กระดาษสี (colored paper) เหลือใช้
3.ลูกปิงปอง (table tennis) หรือทำจากเศษกระดาษปั้นเป็นลูกกลมๆ
4.กาว(glue)


ขั้นตอน(step)การประดิษฐ์
1.นำเศษกระดาษมาตัดเป็นกรวยให้ขนาดรูพอดีกับหลอดเเล้วติดกาว
2.ลองเป่าลมดู ว่าสามารถเลี้ยงลูกบอลให้ลอยขึ้นได้หรือป่าว

หลักการทำงานของของเล่นชิ้นนี้คือความสัมพันธ์ระหว่างความดันเเละความเร็วของอากาศ ธรรมชาติของอากาศ(เเละของไหลได้เช่น น้ำ) ก็คือที่ใดที่อากาศไหลเร็ว ความดันอากาสเเถวนั้นจะน้อย ดังนั้นถ้าบริเวณอื่นที่อยู่รอบๆมีความดันอากาศมากกว่า ก็จะมีลมวิ่งจากที่ความดันมากเข้าหาที่ความดันน้อยกว่า หลักการนี้เรียกว่าหลักการของ เบอร์นูลลี เมื่อเราเป่าลมใต้ลูกบอลเเรงลมก็จะผลักให้ลูกบอลลอยขึ้นมา ลมที่อยู่ด้านล่างของลูกบอลก็จะไหลไปด้านข้างๆขึ้นไปข้างบนในที่สุดลมเหล่านี้วิ่งเร็วกว่าอากาศที่อยู่ห่างจากลูกบอล ความดันด้านข้างใกล้ๆลูกบอลจึงต่ำกว่าความดันที่ห่างออกไปข้างๆ จึงมีเเรงผลักรอบๆให้ลุกบอลอยู่บริเวณที่มีลมเป่าขึ้นเสมอเราจึงสามารถ"เลี้ยง"ลูกบอลอยู่ได้นานๆ



การเลี้ยงลูกบอลของเด็กๆ


ที่มาจาก Pongskorn Saipetch บล็อก วิทย์พ่อโก้ 

ประเมินตนเอง
-วันนี้เเต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ร่วมกันอภิปรายเรื่องเเผนการสอนกับอาจารย์ในท้ายชั่วโมง โดยพูดถึงขั้นตอนการเชื่อมโยงเเผนเข้ากับกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆอย่างถูกต้อง
เเละสิ่งที่ได้จากการประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ก็คือการฝึกให้เด็กรู้จักนำสิ่งต่างๆรอบตัวที่มีอยู่มาสร้างสรรค์ให้เกิดวิทยาศาสตร์ โดยให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง
ประเมินเพื่อนๆ 
-เพื่อนส่วนใหญ่ประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์มาได้อย่างสนใจเเต่ที่อาจารย์ติไปก็คือการนำเสนอยังไม่ครอบคลุมเนื้อหาเเละยังไม่เข้าถึงหลักการทางวิทยาศาสตร์เท่าที่ควร
ประเมินอาจารย์
-อาจารย์เข้าสอนก่อนเวลาเพื่อให้นักศึกษาได้เตรียมตัวในการนำเสนอสื่อประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ เมื่อเพื่อนๆนำเสนอเสร็จอาจารย์ก็ให้คำเเนะนำติชมถึงการนำเสนอในการเตรียมตัวในการพูดถึงหลักการที่สอดคล้องกับสื่อที่เเต่ละคนประดิษฐ์มา



วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สรุปวีดีโอเรื่องอากาศมหัศจรรย์
ลมกระโชก (gust)
ลมพายุฝน(squall)


วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนครั้งที่ 7
Tuesday at 30 September 2014

วันนี้เริ่มการเรียนการสอนโดยการประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์
ผลงานชิ้นที่ 1 คือการประดิษฐ์ลูกยางจากกระดาษเหลือใช้ 



    โดยการประดิษฐ์ลูกยางจากกระดาษนี้จะเห็นถึงความเเตกต่างจากรูปภาพด้านบนได้ว่าลักษณะการตัดไม่เท่ากัน เเละเมื่อโยนลงมาจากที่สูงก็จะมีลักษณะการตกลงมาที่เเตกต่าง โดยมีปัจจัยดังนี้
1.ลักษณะการโยน
2.การออกเเรงโยนที่ไม่เท่ากัน
3.สภาพอากาศขณะโยน
4.ลักษณะของการตัดปีกกระดาษที่ไม่เท่ากัน 
เเละเมื่อพิจารณาเเรงที่กระทำกับตัวมัน จะมีเเรงโน้มถ่วงของโลกเเละเเรงต้านอากาศเเละด้วยรูปร่างของปีกกระดาษที่ไม่สมมาตร โดยถูกออกเเบบให้เเรงต้านกลายเป็นเเรงเข้าสู่ศูนย์กลาง ส่วนเเรงโน้มถ่วงทำให้มันตกลงมาในเเนวดิ่ง ตามลักษณะของการโยน

โดยกิจกรรมนี้นะค่ะถ้าเป็นเด็กๆได้ออกมาลองเล่นเขาจะไม่ถามว่าเล่นอย่างไร เขาจะเกิดการเรียนรุ้เเละทดลองเล่นด้วยตนเอง ซึ่งต่างจากนักศึกษาเพราะนักศึกษามีกรอบความคิดเป็นของตัวเองเเล้วค่ะ
ผลงานชิ้นที่ 2 สื่อวิทย์สร้างสรรค์จากเเกนกระดาษทิชชู่

 

     สิ่งประดิษฐ์นี้นะค่ะสามารถนำเศษวัสดุเหลือใช้มาใช้สร้างสรรค์เป็นสื่อวิทยาศาสตร์ให้เกิดคุณค่าเเก่เด็กโดยมีขั้นตอนการทำง่ายๆไม่ซับซ้อน เด็กๆสามารถทำได้ด้วยตนเอง

สิ่งที่ต้องกลับมาศึกษาค้นคว้าเพิ่ม

ประเมินตนเอง
-ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมให้อย่างตั้งใจ
-ตอบคำถามที่อาจารย์ถามตามความเข้าใจของตนเอง

ประเมินเพื่อนๆ
-เพื่อนสนุกสนานจากกิจกรรมการประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์อย่างสนุกสนาน
-มีส่วนร่วมกับกิจกรรมอย่างตั้งใจ

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์เตรียมสื่อ อุปกรณ์ ให้นักศึกษาประดิษฐ์อย่างมีความพร้อม
-อาจารย์ตั้งใจสอน พร้อมสรุปกิจกรรมอย้่างเข้าใจ





วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนครั้งที่ 6
วันอังคารที่ 23 กันยายน 2557

   Constructivism มีความสอดคล้องกับปฐมวัยอย่างไร 
*การจัดการเรียนรู้ที่ครูปฐมวัยนั้นมีบทบาทเป็นผู้ให้ข้อมูลเเก่เด็ก เเละยิ่งครูให้ข้อมูลเเก่เด็กมากเท่าไรเด็กก็ยิ่งรับข้อมูลได้มากเท่านั้น
วันนี้อาจารย์มีสื่อมาให้นักศึกษาดูเเละทดลองปฏิบัติหลายอย่างเลย เช่น กล้องพาราไดร์สโคป  สื่อวิทยาศาสตร์บัตรรูปภาพ เป็นต้น


กล้องนี้เมื่อส่องจะเกิดการหักเหเนื่องจากมีรูด้านข้าง


           ตัวอย่างกล้องพาราไดร์สโคป เเละกล้องเปริสโคป


บัตรรูปภาพสวยไหมค่ะเมื่อใช้มือหมุนไม้ภาพทั้งสองด้านจะเหมือนเคลื่อนไหวรวมกันเป็นภาพเดียวค่ะ


อาจารย์ตั้งคำถาม  2 คำถาม
  question ?  ใครเปรียบเด็กเหมือนผ้าข้าว

  answer     ฌอง ฌาค รุสโซ ( Jean Jacques Rouseeau )
  question.  ? ใครคือบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ 
  answer      พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัว



                         Mildmap สรุปความรู้




ประเมินตนเอง
-วันนี้ได้เรียนรู้เรื่องเเสงพอสมควรเเละได้ทดลองกล้องที่อาจารย์นำมาให้เรียนรู้เเละได้จดบันทึกสิ่งที่ได้จากการเรียน เเละการเตรียมเเผนการสอนโดยการใช้MildMap ประกอบในการสอนในเเต่ล่ะเรื่อง

ประเมินเพื่อนๆ
-เพื่อนเเต่ล่ะกลุ่มวาดรูปเเละสร้างMildmap มาอย่างสวยงามทุกกลุ่มเลย

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์ให้ข้อเสนอเเนะเเละคำติชมในการสร้างMlidMap ของเเต่ละกลุ่ม เเละอธิบายความรู้เรื่องเเสงในการนำไปใช้สอนเด็กเพื่อให้เด้กได้คิดเเละหาเหตุผลด้วยตนเอง






วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนครั้งที่ 5 
วันอังคารที่ 16 กันยายน 2557

    เริ่มต้นบทเรียนอาจารย์ให้นักศึกษาฟังเพลงเนื้อร้องเเละทำนองเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก เเต่นักศึกษาไม่ฟัง พูดคุยส่งเสียงดังไม่เกรงใจอาจารย์ อีกทั้งปัญหาเรื่องระบบ electronics ไม่สมบูรณ์แบบเกิดความขัดข้องในระบบเสียง เมื่อเพลงจบอาจารย์ได้กล่าวถึงเรื่องกาลเทศะ Propriety พร้อมยกตัวอย่างทฤษฎีของฟรอยด์ ที่เป้นทฤษฎีด้านจิตวิเคราะห์กลา่าวคือพฤติกรรมที่เป้นทฤษฎีที่เป็นไปตามหลักและเหตุผลในความเป้นจริงตามหลักการของอีโก้ Ego จากนั้นอาจารย์ถามนักศึกษาขนาดที่นักศึกษาเงียบแล้วว่าขณะที่อาจารย์ให้ฟังเพลงนักศึกษาแสดงพฤติกรรมที่ไม่สมควรอะไรบ้างออกมาทุกคนก็ตอบมาเป็นเสียงเดียวกันว่าเสียงรบกวนสมาธิอาจารย์ผู้สอน เสียงดัง สร้างความวุ่นวายให้เพื่อนๆและอาจารย์ผู้สอน อาจารย์จึงกล่าวสรุปว่าทุกคนควรมีประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเป้นผู้ฟังที่ดี ผู้พูดที่ดี

จากนั้นเพือนๆก็ได้ออกมานำเสนอบทความตามเลขที่
 เรื่องที่ 1 สอนลูกเรื่องปรากฎการณ์ธรรมชาติสำคัญอย่างไร
รายละเอียดของบทความพูดถึงเรื่องการให้ความสำคัญต่อลูกในเรื่องของปรากฎการณ์ธรรมชาติต่างๆที่เด็กสนใจและอยากจะเรียนรู้โดยพ่อแม่ควรให้ความสำคัญและให้ความรู้ความเข้าใจอธิบายเรื่องราวทางธรรมชาติในแบบง่ายๆที่เด็กพอจะเข้าใจ

* หมายเหตุ  ในคาบเรียนนี้เพื่อนๆๆนำเสนอบทความแค่ 1 เรื่อง เนื่องจากอาจารย์ติดธุระสำคัญจึงให้เพื่อนที่้หลือนำเสนอในคาบต่อไป และอาจารย์ได้หมอบหมายงานให้นักศึกษา 2 งาน คือ
งานเดี่ยว ให้ศึกษา VDO เรื่องความลับของแสง พร้อมสรุปสาระสำคัญที่ได้จาก VDO ลง Blogger 
งานกลุ่ม   ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 - 6 คน สร้าง Mild Mapping โดยแต่ละกลุ่มให้กำหนดกลุ่มล่ะ 1เรื่อง โดยมีเนื่้อหาที่ละเอียด โดยกลุ่มดิฉันนำเสนอเรื่อง Frog 

                                                                VDOความลับของแสง


                                                                 
                                             สรุปองค์ความรู้ เรื่องความลับของเเสง จาก VDO


ประเมินตนเอง
-คุยกับเพื่อนข้างๆ จนไม่รู้เรื่องสิ่งที่อาจารย์เปิดให้ฟัง ทำให้ตัวเองขาดการเป็นผู้เรียนที่ดีเเละผู้ฟังที่ดีในชั้นเรียน

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆในห้องเเข่งกันคุยเสียงดัง ไม่ฟังอาจารย์สอน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์มีความตั้งใจในการสอนเเต่นักศึกษาไม่สนใจที่จะรับความรู้
-อาจารย์ปล่อยเร็วเนื่องจากติดธุระสำคัญเเต่ก็ให้งานไว้ 







วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปบทความ เรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ที่มา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี  ไสยวรรณ
     การให้เด็กได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์นั้นถือว่าให้เด็กได้เข้าใจตัวเองเเละโลกรอบตัว เด็กมีธรรมชาติที่เป็นความอยากรู้อยากเห็น มักจะชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรเพื่อเเสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเเละเริ่มมีความเข้าใจธรรมชาติมากขึ้น เด้กสามารถสังเกตเเละสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องดิน หิน อากาศเเละท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานจากเเม่เหล็ก เเสงเเละเสียง นอกจากนี้เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำเเละความร้อน สิ่งเหล่านี้เองทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มมีการทำงานทางวิทยาศาสตร์ สามารถเเก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้อย่างมากมาย เเละกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ล้วนส่งเสริมการสร้างความมั่นใจลดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ พัฒนาการทางสติปัญญาให้เเก่เด็ก เช่น ทักษะการสังเกต การจำเเนก ประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะเน การสื่อสาร เเละยังพัฒนาอารมณ์ให้เด็กเกิดเจตคติในทางบวก วิทยาศาสตร์นั้นมีขอบข่ายค่อนข้างกว้างขวาง เเต่โดยสรุปที่ควรจัดให้เด็กได้เรียนรู้ก็คือ การศึกษาธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเด็กโดยมีขั้นตอนการศึกษาค้นคว้า ทำความเข้าใจเเละอธิบายธรรมชาติที่อยู่รอบตัวได้ เช่น พฤติกรรมการเปลี่ยนเเปลง ปรากฏการณ์ต่างๆ นำไปสู่การสื่อสารเเละการเเสดงออกทางปัญญาในการเเสดงความคิดเห็นผ่านภาษาโดยการพูดเเละการเขียนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จะส่งสนับสนุนความอยากรู้ ความสนใจของเด็ก เเละในที่สุดก็จะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกประสบผลสำเร็จ